มหาวิทยาลัยเสมือน

บทคัดย่อ.. Virtual University
Virtual University หรือ มหาวิทยาลัยเสมือน หมายถึง สถาบันการศึกษาที่เอื้ออำนวยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ผ่านทรางออนไลน์ โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่ ( Anywhere-Anytime Learning ) เป็นการผนวกความรู้ ความสามารถทางเทคโนโลยี และผู้เชี่ยวชาญจากหลายแขนงสาขาวิชา เช่นทางคอมพิวเตอร์ ศึกษาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มาประมวลความรู้แล้วนำมาพัฒนาซอฟต์แวร์ Virtual University จึงเป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่ในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ เช่น Internet เว็บไซด์เทคโนโลยี วิดีทัศน์ออนดีมานต์ ฯลฯ นำมาประยุกต์ใช้ในระบบการเรียนการสอนให้เป็นระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ และยังต้องมีระบบควบคุมคุณภาพของระบบการเรียนการสอนให้เทียบเท่าหรือดีกว่าการเรียนการสอนแบบเดิม
Virtual University กับ e-Learning ต่างกันตรงที่ e-Lerarning มุ่งเน้นที่กระบวนวิชาหนึ่งๆ ไม่ว่าการนำเสนอจะเป็นส่วนเสริมหรือส่วนหลักของกระบวนการเรียนการสอนของวิชานั้นๆ ในส่วนของ Virtual University มักจะมุ่งเน้นความเป็นสถาบันออนไลน์ที่มีบริการอื่นๆ ออนไลน์ด้วย เช่น ห้องสมุดเสมือน ( Virtual Library ) หรือ e-Library การลงทะเบียนออนไลน์ การตรวจสอบคะแนน ตลอดจนการส่งเสริมให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อิเลคทรอนิคส์ ( e-Learning Community )
รูปแบบของ Virtual University มีด้วยกัน 4 แบบคือ
1. Virtual University ที่เกิดจาการบริหาร โดยทางมหาวิทยาลัยพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ โดยการขยายหลักสูตรจากเนื้อหาวิชาที่เปิดทำการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ การบริหารจัดการ การกำหนดมาตราฐานของหลักสูตร อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการของมหาวิทยาลัย
2. Virtual University เกิดจากการบริหารโดยความร่วมมือของหลายๆ สถาบัน มีการวางนโยบายและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนร่วมกัน และมีพัฒนาเนื้อหาวิชาที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ใช้ร่วมกันด้วย
3. Virtual University ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ เป็นการพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของสถาบันการศึกษาและองค์กรเครือข่ายหรืออาจอยู่ในรูปของบริษัทที่เห็นศักยภาพทางการตลาดของการศึกษาระดับอุดมศึกษา
4. Virtual University พัฒนาโดยบริษัททางธุรกิจ เป็นการให้บริการด้านการศึกษาออนไลน์โดยบริษัทธุรกิจ ส่วนใหญ่มุ่งเน้นหลักสูตรการฝึกอบรมและการให้ความรู้ที่เป็นที่ต้องการของผู้อยู่ในวัยทำงาน เช่น cis.com, ibm.com หรือ lotus.com เป็นต้น
ในประเทศไทยรัฐควรสนับสนุนให้เกิดเป็นโครงการนำร่องขึ้นมา และขยายผลในอนาคต ซึ่งมีรูปแบบของการพัฒนา 2 แนวทางคือ
1. การพัฒนาขึ้นมาใหม่ พัฒนาโดยไม่ยึดติดกับโครงสร้างการบริหารงานของหน่วยงานแบบเก่าๆ
2. ต่อยอดจากมหาวิทยาลัยเดิม โดยสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยพัฒนาการเรียนการสอนแบบ Virtual University
โดยการพัฒนาจะต้องคำนึงถึงอุปสรรคของการพัฒนาคือ
- การรับรองคุณภาพ ( Accreditation )
- นโยบายของรัฐบาล
- สถาบัน
- เงินทุน
- กำลังคน
- เทคโนโลยี

ดร.ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์. e-ECONOMY=บูรณาการความรู้สำหรับศตวรรษที่ 21, ปีที่ 2, ฉบับที่ 1, มีนาคม 2545
น.102-104. ISSN 1685-3407.



โดย : นาย โอฬาร จิรชีวะ, สนามบินดอนเมือง, วันที่ 13 เมษายน 2545