ป่าไม้ในเมืองไทย
ป่าไม้ในประเทศไทย แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ
2. ป่าประเภทผลัดใบ

1. ป่าที่ไม่ผลัดใบ ป่าประเภทนี้มีต้นไม้ที่มีใบเขียวชอุ่มตลอดไม่มีระยะเวลาผลัดใบที่แน่นอน เมื่อใบไม้ใบเก่าร่วงหล่นไปใบใหม่ก็ผลิแตกออกมาแทนที่อยู่เรื่อยๆ ป่าประเภทนี้มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย แยกได้ตามลักษณะเด่นของป่าเป็น 4 ชนิด
1.1 ป่าดงดิบหรือป่าดิบหรือป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบมักกระจายอยู่ตามบรืเวณที่มีดินฟ้าอากาศชุ่มชื้นมากๆเช่น ตามหุบเขา แหล่งน้ำและบนหุบเขา ลักษณะของป่าดงดิบโดยทั่วไปมักเป็นป่าทึบเขียวชอุ่มตลอดปี มีพันธุ์ไม้ที่ขึ้นเบียดเสียดกันอยู่ทั้งขนาดใหญ่ขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งล้วนแต่เป็นชนิดที่ไม่ผลัดใบแทบทั้งสิ้น ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจมีมากมาย เช่น ตะเคียน กะบาก เคี่ยม จำปาป่า ตาเสือ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ไม้ขนาดเล็กขึ้นปะปนอยู่เรียกว่าไม้พื้นล่าง ได้แก่ ไผ่ ระกำ หวายและเถาวัลย์ ชนิดต่างๆอีกมากมาย

1.2 ป่าดงดิบเขาหรือป่าดิบเขา ส่วนใหญ่มีอยู่ในภาคเหนือตามภูเขาสูง ซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล ประมาณ 1000 เมตรขึ้นไป ลักษณะของป่าชนิดนี้มีความโปร่งกว่าป่าดงดิบชื้น เนื่องจากมีต้นไม้ขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่น้อยกว่าแต่ก็มองดูเขียวชอุ่มตลอดปี อากาศค่อนข้างเย็นเนื่องจากอยู่บนที่สูง ป่าชนิดนี้มีความสำคัญต่อการรักษาต้นน้ำลำธารมาก ชนิดพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ส่วนมากเป็นจำพวกก่อ เช่น ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อตาหมู ก่อนก ก่อขาวและก่อน้ำนอกจากนี้ก็มี กำลังเสือโคร่ง ฯลฯ

1.3 ป่าสนหรือป่าสนเขา ในประเทศไทยมักปรากฏอยู่ตามภูเขาสูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 700 เมตรขึ้นไป ป่าชนินี้จึงมีมากในภาคเหนือ ป่าสนเขา โดยทั่วไปมักจะขึ้นอยู่ในที่ซึ่งดินไม่ค่อยจะอุดมสมบูรณ์มากนัก

1.4 ป่าชายเลนหรือป่าเลนน้ำเค็มหรือป่าโกงกาง บางทีเรียกว่า ป่าเลนน้ำเค็มหรือป่าเลนหรือป่าโกงกาง ลักษณะป่าไม่ผลัดใบมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยืนและรากหายใจแตกต่างกันไป ป่าชนิดนี้ปรากฏอยู่ตามที่ดินเลนริมทะเลหรือบริเวณแม่น้ำใหญ่ซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึง เช่นฝั่งทะเลด้านตะวันออกมีป่าชายเลนขึ้นอยู่เป็นแห่งตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปจนถึงจังหวัดปัตตานี ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกมีป่าชายเลนอยู่อย่างหนาแน่นตั้งแต่ จ. ระนองจนถึง จ. สตูล
พันธ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลนส่วนมากเป็นไม้ขนาดเล็กใช้ประโยชน์สำหรับการเผาถ่านและทำฟืน พันธุ์ไม้ชนิดที่สำคัญ คือ โกงกาง ประสัก ถั่วขาว โปรง ตะบูน แสมทะเล ลำพูนและลำแพน ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็นพวก ปรงทะเล เหงือกปลาหมอ ปอทะเลและแป้ง เป็นต้น
2. ป่าประเภทผลัดใบ
2.1ป่าเบญจพรรณ หรือป่าผลัดใบผสม มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ประกอบด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายชนิด พื้นดินมักเป็นดินร่วนปนทรายในฤดูฝนต้นไม้จึงผลิใบและกลับเขียวชอุ่มเหมือนเดิม
พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สัก ประดู่ แดง มะค่าโมง ตะแบก เสลา อ้อยช้าง ส้าน ยมหิน ยมหอม มะเกลือ สมพง เก็ดดำ เก็ดแดง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีไม้ไผ่ที่สำคัญอีกหลายชนิด เช่น ไผ่ป่า ไผ่ตง ไผ่ลวก ไผ่ไร่ เหล่านี้เป็นต้น

2.2 ป่าแดง ป่าชนิดนี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เป็นต้นว่า ป่าแดง ป่าแพะหรือป่าเต็งรัง ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กขึ้นอยู่ปะปนกันไม่ค่อยแน่นทึบ ตามพื้นป่ามักจะมีโจดและเพ็ก ซึ่งเป็นไม้ไผ่ขนาดเล็กขึ้นอยู่ทั่วไป พื้นที่แห้งแล้ง ดินร่วนปนทรายหรือกรวดลูกรังความสมบูรณ์น้อย ต้นไม้แทบทั้งหมดผลัดใบและมักเกิดไฟป่าไหม้ทุก
ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าแดง ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด พะยอม ติ้ว มะค่าแต้ แต้ว ประดู่แดง สมอไทย ตะแบกเลือด แสลงใจ รถฟ้า ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างที่พบมากได้แก่ มะพร้าวเต่า ปุ่มแป้ง หญ้าแพรก โจด และหญ้าชนิดอื่นๆ
ต้นไม้มีความสำคัญในแง่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย เป็นแหล่งอาหาร เป็นที่หลบภัย ต้นไม้เปรียบเสมือนเครื่องปรับอากาศ เพราะต้นไม้ให้ก๊าซออกซิเจนและความชุ่มชื้นแก่ชีวิต ปัจจุบันต้นไม้ในส่วนต่างๆของโลก ได้หมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการในการนำต้นไม้มาใช้ประโยชน์จึงมีมากขึ้น

สิ่งสำคัญ 3ประการ ที่พวกเราจะช่วยกันอนุรักษ์ต้นไม้ไว้ให้เป็นประโยชน์ แก่มนุษย์มากที่สุด และเป็นระยะเวลายาวนาน คือ
1. ดูแลต้นไม้ที่มีอยู่ไว้ให้มากที่สุด
2. ปลูกต้นไม้เพิ่มเติมให้มากที่สุด
3. ลดประมาณการใช้ประโยชน์จากไม้ และใช้อย่างรู้คุณค่า

โดย : นาย ประทุม คงเมือง, ระยองวิทยาคม, วันที่ 18 เมษายน 2545