ยมหิน

ยมหิน
ชื่อพื้นเมือง โค้โย่ง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ช้ากะเดา (ใต้) ยมขาว (เหนือ)มะเฟืองต้น
สะเดาช้าง สะเดาหิน (ภาคกลาง) เสียดค่าย (สุราษฎร์ธานี)
ชื่อสามัญ Almond-wood, Chickrassy Chittagong-wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chukrasia velutina Roem
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่เร็ว เรือนยอด
เป็นพุ่มรูปกรวยต่ำๆเปลือกสีน้ำตาบคล้ำ สีเทา หรือเทาปนดำ และมีรูระบาย
อากาศทั่วไป
ใบ เป็นใบประกอบออกเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปดาบท้องใบมีขนนุ่ม หลังใบ
เกลี้ยง
ดอก ขนาดเล็ก สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง
ผล กลมรีๆ แข็ง สีน้ำตาลอมม่วง
แหล่งที่พบ ขึ้นในป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นทั่วไป
การออกดอก ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์
การปลูกและบำรุงรักษา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีใน
สภาพดินแทบทุกชนิด
ประโยชน์ทั่วไป เนื้อไม้ สีน้ำตาลอมเหลือง เป็นมัน เนื้อละเอียด ไสกบตกแต่งง่าย ชักเงาได้ดี
ทำเครื่องเรือน ด้ามเครื่องมือและไม้อัด
ยมหินเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดแพร่

สุทัศน์ จูงพงศ์. สมุนไพรพันธุ์ไม้มงคล พระราชทานประจำจังหวัด.
กรุงเทพฯ: มติชน,2543




โดย : นางสาว namthip thongpuljun, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 20 เมษายน 2545