โพทะเล

โพทะเล
ชื่อพื้นเมือง บากู (มลายู-นราธิวาส,ปัตตานี) ปอกะหมัดไพร (ราชบุรี) ปอมัดไซ
(เพชรบุรี) โพทะเล(ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ Portia Tree,Cork Tree,Tulip Tree, Rosewood of Seychelles, Coast
Cotton Tree, Yellow Mallow Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thespesia populnea Soland. Ex Correa
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมชมพู
ขรุขระเป็นตุ่มเล็กๆ ตลอดลำต้น
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปหัวใจ กว้าง 12 ซ.ม.
ดอก ขนาดใหญ่ สีเหลือง ขนาด 6-10 ซ.ม. ออกตามง่ามใบ
ผล ผลโตขนาดใหญ่ 4 ซ.ม. ผิวแข็ง เมล็ดเล็กยาวคล้ายเส้นไหม
แหล่งที่พบ มักพบตามป่าชายเลน หรือตามชายฝั่งทะเลในที่ที่น้ำทะเลท่วมถึง และพบ
มากทางภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้
การออกดอก ระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนมิถุนายน เป็นผลระหว่างเดือนกรกฎาคม-
เดือนสิงหาคม
การปลูกและบำรุงรักษา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด เป็น
พันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด แต่ต้องมีความชุ่มชื้น
อยู่สม่ำเสมอและต้องการน้ำมาก
ประโยชน์ทั่วไป เนื้อไม้ เหนียว แข็ง ทนทาน ไสกบตกแต่งง่าย ขัดชักเงาได้ดี ใช้ทำเครื่องเรือน
กระดานพื้น ด้ามเครื่องมือ พายแจว ทำคิวบิลเลียด
เปลือก ใช้ตอกหมันเรือ ทำเชือก และสายเบ็ด
ประโยชน์ทางยา ใบ ใช้ทำผงยาใส่แผลเรื้อรัง และใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ
ดอก ใช้ต้มกับน้ำนมหยาดหูรักษาอาการเจ็บหู
เปลือก เป็นยาทำให้อาเจียน ส่วนเมือกที่ได้จากการนำเปลือกสดเอามาแช่น้ำ ใช้
รักษาโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร
ราก ใช้รักษาอาการไข้ เป็นยาระบาย และขับปัสสาวะ
วิธีใช้ทางยา ใช้หยอดหู หูอักเสบ ใช้ดอกสด 2-3 ดอกต้มกับน้ำนมครึ่งถ้วยตวง ใช้
หยอดหูแก้เจ็บในหู
ห้ามเลือด ใส่แผลสด ใช้ใบแห้ง 2-3 ใบบดให้เป็นผงละเอียด นำมาทาและพอกแผลสดจะทำให้
แผลหายเร็วขึ้น
ข้อควรระวัง น้ำมันที่ได้จากเมล็ดถ้าเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้
โพทะเลเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ

สุทัศน์ จูงพงศ์. สมุนไพรพันธุ์ไม้มงคล พระราชทานประจำจังหวัด.
กรุงเทพฯ: มติชน,2543





โดย : นาย thawat hongsaton, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 20 เมษายน 2545