ตะแบก

ตะแบก
ชื่อพื้นเมือง กระแบก (สงขลา) ตราแบกปรี้ (เขมร) ตะแบกไข่ (ราชบุรี,ตราด) ตะแบกนา
ตะแบก (ภาคกลาง,นครราชสีมา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia floribunda Jack
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15-30 เมตร เปลือกเรียบสีเทาอมขาว แตกล่อนเป็น
หลุมตื้น
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปขอบขนาดแกมรูป
หอก กว้าง 5-7 ซ.ม.ยาว 12-20ซ.ม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ
ดอก สีม่วงอมชาพูต่อมาสีขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง
ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 ซ.ม. ผลแก่แตกเป็น 6 ซีก เมล็ดเล็ก มีปีกโค้งทางด้าน
บน 1 ปีก
แหล่งที่พบ เป็นพันธุ์ไม้พื้นของป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดงดิบ ป่าน้ำท่วมตามท้องนา ที่สูง
จากระดับน้ำทะเล 20-300 เมตร
การออกดอก ระหว่างเดือนธันวาคม-เดือนกุมภาพันธ์ ผลแก่เดือนมีนาคม
การปลูกและบำรุงรักษา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพ
ดินทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนซุยต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ประโยชน์ทั่วไป เนื้อไม้ ละเอียดแข็ง ใจกลางมักเป็นโพรง ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่รับน้ำหนัก เครื่อง
มือการเกษตร และนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ประโยชน์ทางยา เปลือก ใช้ปรุงเป็นยาแก้บิด ลงแดง และมูกเลือด
วิธีใช้ทางยา แก้บิด ใช้เปลือกต้นครึ่งกำมือสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ
ค่อนแก้วดื่มเฉพาะน้ำ
ตะแบก เป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดสระบุรี

สุทัศน์ จูงพงศ์. สมุนไพรพันธุ์ไม้มงคล พระราชทานประจำจังหวัด.
กรุงเทพฯ: มติชน,2543




โดย : นาย thawat hongsaton, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 20 เมษายน 2545