รางจืด

รางจืด
( THUNBERGIACEAE )

ชื่ออื่น : กำลังช้างเผือก ยาเขียว เครือเถาเขียว ขอบชะนาง (ไทย) ดุเหว่า (ตานี) คาย (ยะลา)
ปังกะล่ะ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้เถา อาศัยพันเกาะเกี่ยวต้นไม้ใหญ่ มีเถาแข็งแรงมาก เถากลม เป็นข้อปล้อง มีสีเขียว
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบสีเขียวผิวเกลี้ยง ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ โคนใบเว้า ปลายใบเป็นติ่งแหลม ใบกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาวประมาณ 4-5 นิ้ว
ดอก ออกเป็นช่อออกบริเวณง่ามใบ ช่องหนึ่งมี 3-4 ดอก ดอกเป็นกรวยตื้น ๆ หลอดกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ปลายดอกจะแยกเป็น 5 กลีบ ดอกมีสีม่วงอ่อนหรือสีคราม ดอกอ่อนจะมีกาบห่อหุ้มอยู่ ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว ภายในหลอกดอกมีสีขาว มีเกสรตัวผู้ 4 อัน
ผล เป็นฝัก ปลายฝักแหลม
สรรพคุณ ทั้งต้น ถอนพิษยาเมื่อเมา หรือใช้ปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้ และพิษทั้งปวง
รากและเถา กินเป็นยารักษาอาการร้อนในกระหายน้ำ และดับพิษร้อนทั้งปวง

กัญจนา ดีวิเศษ เภสัชกรรมแผนไทย กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2542



โดย : นางสาว ราตรี อิ่งมั่น, ripw.klongluang pathumthanee 13180, วันที่ 20 เมษายน 2545