การเคลื่อนที่แบบหมุน

การเคลื่อนที่แบบหมุน ( Rotation Motion ) เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุรอบแกนตั้งฉากอันหนึ่งโดยแกนอาจอยู่กับที่หรือกำลังเคลื่อนที่ก็ได้ เช่น การหมุนของลูกข่าง , โยโย่ , มูมเมอแรง หรือ การหมุนล้อรถ

สาเหตุที่ทำให้วัตถุเกิดการหมุนก็คือ ทอร์ก( Torque) ส่วนวัตถุจะเปลี่ยนสภาพการหมุนได้ยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับโมเมนต์ความเฉื่อย(Moment of Inertia)

โมเมนต์ความเฉื่อย ( I )คือปริมาณที่บอกสมบัติในการต้านการเปลี่ยนสภาพการหมุนของวัตถุ มีหน่วย( kg.m2 )

ทอร์ก(Torque) เป็นปริมาณที่บอกถึงความพยายามที่จะทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการหมุน มีค่าเท่ากับอัตราการเปลี่ยนโมเมนตัมเชิงมุม

โมเมนตัมเชิงมุม(Angular Momentum) เป็นปริมาณที่บอกสภาพการหมุนของวัตถุ มีค่าขึ้นอยู่กับผลคูณของโมเมนต์ความเฉื่อย กับ ความเร็วเชิงมุมเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วย kg.m2/s หรือ J-s นั่นเอง
L = Iw

กฎอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม(Angular Momentum) เมื่อทอร์กที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเป็นศูนย์ วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเชิงมุมคงตัว

พลังงานจลน์การหมุน เป็นพลังงานของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่แบบหมุน

พลังงานจลน์กลิ้ง ตามปกติวัตถุที่มีการเคลื่อนที่แบบหมุนอาจมีการเลื่อนตำแหน่งพร้อมกันด้วย เช่น ล้อรถที่กำลังแล่น ดังนั้นพลังงานของวัตถุจึงมีทั้งพลังงานจลน์การหมุน และพลังงานจลน์การเลื่อนที่



โดย : นาย ประทุม คงเมือง, ระยองวิทยาคม, วันที่ 24 เมษายน 2545