"ขมิ้นทอง" สรรพคุณยา

ขมิ้นทอง อยู่ในวงศ์ AINGIBERACEAC เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 30-90 ซม. มีหัวใต้ดิน รูปไข่ มีแขนงรูปทรงกระบอก แตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงข้ามกัน เนื้อในสีเหลืองทองหรือสีเหลืองส้มมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบเป็นใบเดี่ยว แทงขึ้นจากหัว ออกเรียงสลับซ้อนกัน รูปใบหอก
ดอก แทงขึ้นจากหัวระหว่างกาบใบ เป็นช่อรูปทรงกระบอกคล้ายช่อดอกกระเจียวหรือดอกขิงทั่วไป กลีบดอกสีเหลืองอ่อนใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล เวลามีดอกจะสวยงามน่าชมยิ่ง “ผล” รูปกลม มี 3 พู ดอกจะออกช่วงฤดูฝน ทรุดโทรมในฤดูแล้วเหลือหัวฝังใต้ดิน ขยายพันธุ์ด้วยหัว มีชื่อเรียกอีกคือ ขมิ้นชัน , ขมิ้นดี , อังกอนหัว , ขมิ้นไข , พญาว่าน , เข้าหมิ้น , ขมิ้นป่า , ขมิ้นหัว , ขมิ้นหยวก , ขมิ้นแดง , ตายอ(กะเหรี่ยงกำแพง) ถมิ้น , ขี้มิ้น(ใต้) และ ขมิ้นแกง
ปัจจุบันสถานเสริมความงามบางแห่งใช้ “ขมิ้นทอง” บดเป็นผงละเอียดขัดผิวสตรีให้ดูสวยงามเปล่งปลั่งขึ้นแต่ในตำรายาโบราณระบุว่าหัวของ “ขมิ้นทอง” กินแก้ไข้ประเภทนอนหลับๆ ตื่นๆ มีอาการเพ้อพก แก้ไขผอมเหลืองแก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะ แก้พิษโลหิต แก้ท้องร่วง น้ำมันจากหัวที่สกัดได้ใช้ทาเป็นยาสมานผล แพทย์ชนบทใช้หัวต้มให้สุก นำไปตามแห้งป่นเป็นผงละเอียดละลายน้ำทาตัวเด็ก แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน หรือพอกหัวฝี ฝีหัวดาวหัวเดือน ฝีตะมอย ใช้หัวดมแก้หวัดน้ำหยอดตาทำให้เย็นตาสบาย แก้ตาบวม ขับผายลม แก้ไขท้องมาน
ตำรายาแผนไทยปัจจุบัน หัว ตากแห้งทำผงผสมน้ำหรือหัวสดฝนทารักษา โรคผิดหนัง ผื่นคัน เนื่องจากมีสาร CURCUMIN ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองได้ดีมาก ให้ผลเท่ายาปฏิชีวนะ หัวยังรักษาโรคท้องอืด ท้องเฟ้อ และแผลในกระเพาะอากรได้โดยใช้ขนาด 250 มิลลิกรัม กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 4 เวลา หลังอาหารและก่อนนอน สามารถยับยั้งการเกิดก๊าซ ที่สร้างโดยเชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสียแต่ไม่ฆ่าเชื้อ ข้อควรระวังคือ CURCUMIN สูงเกินขนาด จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้

ไทยรัฐรายวัน. ปีที่ 53 ฉบับที่ 16124 วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2545 ,หน้า 7.






โดย : นางสาว supaluk amonwattana, ripw klongluang patumtanee 13180, วันที่ 24 เมษายน 2545