เม่นทะเลจุดฟ้า

ลักษณะทั่วไป เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งมีรูปร่างครึ่งวงกลมคล้ายถ้วยคว่ำ เปลือกเป็นหินปูน ด้านหลังคือส่วนที่โค้งนูน มีหนามยาวปลายแหลม เรียงตัวเป็นแถวคู่ ขนานกันตามส่วนโค้งนูน ตรงกลางเป็นช่องเปิดของก้น ซึ่งทำหน้าที่ในการขับถ่ายของเสีย ระหว่างหนามมีหนวดสั้น ๆ เรียงเป็นแถวขนานไปกับหนามเหล่านั้น ปากของเม่นทะเลอยู่ด้านล่าง มีลักษณะกลม และมีเขี้ยวที่แหลมคมอยู่ 3 อัน ใช้ในการขบเคี้ยวอาหาร ก่อนที่จะส่งเข้าสู่กระเพาะอาหาร หนามของเม่นทะเลมีรูปร่างคล้ายเข็ม เป็นหินปูนที่แข็งแต่เปราะและหักง่ายมาก เมื่อถูกหนามหอยเม่นตำ หนามจะหักฝังเข้าไปในเนื้อไม่สามารถถอนออกได้ ผู้ถูกตำจะมีอาการเจ็บแปลบเหมือนถูกเข็มตำ เนื้อบริเวณที่ถูกตำจะเป็นสีม่วง หนามที่ฝังอยู่ในเนื้อจะสลายตัวภายใน 24-48 ซม. เพื่อช่วยให้หนามสลายตัวเร็วขึ้น ควรใช้ของแข็งทุบบริเวณบาดแผล เป็นการเร่งให้หนามซึ่งเปราะหักละเอียดและสลายตัวเร็วขึ้น หลังจากนั้น ควรใช้แอมโมเนียหรือแฮลกอฮอล์ทา จะทำให้อาการปวดหายคลายบรรเทาได้อย่างรวดเร็ว ถิ่นอาศัย พบตามพื้นท้องทะเลที่เป็นทราย ซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยและอินทรีย์สารขนาดเล็ก ขนาด ลำตัวมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-12 ซม. ประโยชน์ ตัวเป็น ๆ ใช้ประดับตู้ปลา ไข่รับประทานเป็นอาหารได้ กระดองใช้ทำเครื่องประดับ

กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2535.



โดย : นางสาว จุฑาวรรณ เกตุมณี, ripw.klongluang pathumthani 13180, วันที่ 27 เมษายน 2545