งูไม่มีพิษ

งูไม่มีพิษ snake
หลายคนคงเคยได้ยินจากคำบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่หรือจากการบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่างูชนิดนั้นชนิดนี้มีพิษบ้าง ทำให้เกิดความกลัวและไม่กล้าเข้าใกล้หรือบางทีก็อาจจะถึงขั้นทำให้บาดเจ็บถึงตายได้ ซึ่งทำให้เกิดความไม่สมดุลตามธรรมชาติ งูที่คนมักจะมีการเข้าใจผิดกันมากก็คือ งูก้นขบ และงูแสงอาทิตย์ ซึ่งมีการพูดกันว่ามีพิษกัดถึงตายบ้าง บางคนก็ว่าเป็นงูไม่มีพิษ แต่ส่วนใหญ่ก็ค่อนข้างจะเชื่อกันว่ามีพิษ อาจจะเป็นด้วยลักษณะของมันเอง ไม่ว่าจะเป็นสี ลวดลาย หรือลักษณะนิสัย จึงทำให้หลายคนเข้าใจผิด
งูก้นขบ (Cylindrophis Rufus) มีลักษณะลำตัวเป็นทำงกระบอกยาว ส่วนหางมีขนาดค่อนข้างใหญ่เท่า ๆ กับส่วนหัวและมีลำตัวเป็นทรงกระบอกยาวทั้งตัว และเวลามันตกใจจะทำตัวให้แบน ชูส่วนหางม้วนงอให้เห็นสีแดง ๆ บริเวณใต้หางเพื่อขู่ศัตรู ส่วนหัยจะพยายามซุกซ่อน ทำให้คนเข้าใจผิดว่ามันเป็นงู 2 หัว คือหางก็สามารถกัดได้ และมีพิษร้ายแรง ซึ่งจริง ๆ แล้วงูก้นขบเป็นงูที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ อาหารของพวกมันได้แก่ หนอน งูตัวเล็ก ๆ ตัวอ่อนของแมลง เป็นต้น
งูแสงอาทิตย์ (Xenopeltis Unicolor) มีลักษณะลำตัวเป็นรูปทรงกระบอกยาว แต่หัวของมันค่อนข้างแบนเรียว ตาเล็ก เกล็ดที่ปกคลกุมลำตัวเมื่อสะท้อนแสงแดดจะเงาแวววาวตลอดตัว จึงได้ชื่อว่างูแสงอาทิตย์ มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นงูมีพิษบางคนก็ว่าถ้าถูกกัดแล้วจะตายถ้าพระอาทิตย์ขึ้น จริง ๆ แล้วงูแสงอาทิตย์เป็นงูที่ค่อนข้างเชื่องและไม่เป็นอันตราย มีการดำรงชีวิตส่วนใหญ่อยู่ใต้ดิน อาหารของมันได้แก่ หนู กบ เขียด กิ้งก่า งูเล็ก ๆ และนก

ไพบูลย์ จินตกุล ลาวัณย์ จันทร์โฮม. งูพิษในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท ประชาชน จำกัด, 2538.



โดย : นางสาว sontaya padungsat, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 28 เมษายน 2545