เข็ม

เข็ม

“…แคฝอยข่อยเข็มข้า
ต้นกาลาน่าดอกบาน
งิ้วงับพลังพลึงปาน
นิ้วมือเรียบเปรียบเทียนกลึงฯ…”

วรรณคดี : กาพย์ห่อโคลง “นิราศธารทองแดง” ผู้ประพันธ์ : เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Ixora spp.
ชื่อสามัญ : West Indian Jaxmine (เข็มเศรษฐี)
ชื่อวงศ์ : Rubiaceae

เข็มเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ชอบดินร่วนซุยที่ชุ่มชื้นพอเหมาะ ชอบแดดจัด ทนแล้ง ให้ดอกตลอดปี มีพันธุ์ต่าง ๆ มากมายหลายชนิด เช่น เข็มเศรษฐี I. Macrothyrsa เข็มเหลือง – I. Chinensis เข็มแดง – I. Coccinea เข็มยาว – I. Finlaysoniana เข็มญี่ปุ่น – I. Strictra เป็นต้น
เข็มมีใบสีเขียวแก่ ใบแข็งหนา ไม่ค่อยเรียบ ดูย่นเล็กน้อย ใบออกเป็นคู่ตามข้อกิ่ง รูปร่างใบมีทั้งใบยาว โคนและปลายเรียว เช่น เข็มเศรษฐี ใบป้อมเช่นเข็มเหลืองและใบเล็กเช่นเข็มญี่ปุ่น ทั้งนี้แล้วแต่พันธุ์
ดอกออกเป็นช่อแบนใหญ่ ตามยอดของกิ่งและแขนง ดอกย่อยมีกลีบ 4 – 5 กลีบ คล้ายรูปดาว ปลายกลีบอาจโค้งมน หรือ แหลม โคนดอกเป็นหลอดยาวติดอยู่กับรังไข่ เมื่อดอกตูมมีลักษณะเป็นรูปเรียวคล้ายเข็ม
การขยายพันธุ์ ใช้วิธีปักชำกิ่ง เพาะเมล็ด
วิชิต สุวรรณปรีชา. พฤกษาในวรรณคดี เล่ม2. กรุงเทพฯ :บริษัท อักหราพิพัฒน์จำกัด,มปป.



โดย : นางสาว duangjai natrsodkig, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 28 เมษายน 2545