กระวาน

กระวาน
Amomun krervanh pierre

ชื่ออื่น กระวานโพธิสัตว์ กระวานจันทร์ กระวานดำ กระวานแดง กระวานขาว
ลักษณะ
กระวานเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นมีทั้งส่วนที่อยู่ใต้ดินและบนดิน ลำต้นเป็นกาบ ส่วนบนดินสูงประมาณ 3 เมตร ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละพันธุ์ ในรูปไข่เรียวแหลม ใบยาวได้ถึง 12 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อแทงออกจากลำต้นในดิน ช่อดอกรูปคล้ายทรงกระบอก กลีบดอกมีสีเหลือง ผลกลม ผลแก่ช่วงเดือนมีนาคม – สิงหาคม
แหล่งที่พบ
กระวานจะพบมากในป่าแถบภาคใต้ ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด เจริญเติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้นและเย็น โดยเฉพาะใต้ร่มเงาไม้ใหญ่
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ทำได้โดยใช้วิธีแยกหน่อ การปลูกจะตัดแยกหน่อจากต้นเดิม ถ้ามีลำต้นติดมากด้วยควรตัดลำต้นให้เหลือประมาณ 1 คืบ (เพื่อลดการสูญเสียน้ำ) นำไปเพาะในถุงเพาะชำให้มีความชื้นสม่ำเสมอ เมื่อแข็งแรงจึงนำไปปลูกหรือจะนำหน่อจากต้นเดิมไปปลูกเลยก็ได้ โดยจะปลูกแซมกับไม้ยืนต้นในสวนผลไม้ และสวนยางได้ สามารถปลูกได้ทุกฤดู จะเก็บเกี่ยวกระวานได้เมื่อมีอายุ 4 – 5 ปี
การบริโภคและสรรพคุณ
- หน่ออ่อนและผลอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสด มีกลิ่นหอมและเผ็ดเล็กน้อย หน่ออ่อนจะเก็บกินในช่วงฤดูแล้ง
- ผลแก่ นำไปตากแห้ง ใช้เป็นเครื่องเทศ
- เหง้าอ่อนใช้ผสมในเครื่องแกงเผ็ดให้รสชาติแบบข่าแต่มีกลิ่นหอม
- กระวานมีสรรพคุณทางสมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุก เสียด
การตลาด
กระวานแห้งราคากิโลกรัมละประมาณ 300 – 400 บาท


ลั่นทม ดอนจวบทรง. ผักพื้นบ้าน(ภาคใต้). ทางเลือกในการผลิตและการบริโภค. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก,2537.




โดย : นางสาว duangjai natrsodkig, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 28 เมษายน 2545