กาหลา


กาหลา
(Torch Ginger)
Phaeomeria magnifera
Nicolaia speciosa

ชื่ออื่น ดาหลา กะลา จินตะหลา
ลักษณะ
กาหลาเป็นพืชในวงศ์ Zingiberaceae เป็นพืชตระกูลเดียวกับขิงข่าแต่สูงใหญ่กว่า ต้นสมบูรณ์สูงเต็มที่ 2.5 – 3 เมตร ไม่ล้มลุกเหมือนขิง มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ในดิน ลำต้นบนดินเป็นกาบ ในรูปหอก ปลายใบแหลม ใบกว้างประมาณ 6 นิ้ว ยาวประมาณ 10- 14 นิ้ว ใบมีสีเขียวเข้ม แทงก้านดอกจากหน่อใต้ดิน ก้านดอกเป็นปล้องคล้ายไผ่ สีเขียว สูงประมาณ 80 – 120 เซนติเมตร ดอกสีแดงอมชมพูมีกลีบซ้อนกันหลายชั้น กลีบลดขนาดเล็กลงในวงชั้นใน ปลายกลีบที่แบะออกมีจงอยแหลม ส่วนใต้ขอบกลีบ มีสีขาว กลีบดอกเรียบเป็นมันไม่มีกลิ่น มักออกดอกช่วงพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม
แหล่งที่พบ
กาหลาพบทางภาคใต้ โดยเฉพาะที่เทือกเขาบูโด ในเขตจังหวัดนราธิวาส และเทือกเขาจังหวัดนครศรีธรรมราช
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อจากต้นที่มีอายุมากกว่า 1 ปี โดยนำไปปลูกที่ขึ้นและมีร่มเงา ตัดใบที่ติดมาด้วยออกประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อลดการคายน้ำ
การบริโภคและสรรพคุณ
ใช้ดอกตูมและหน่ออ่อนจิ้มน้ำพริก แกงเผ็ด และหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมในข้าวยำ หรือใช้ยำ ดอกกาหลามีรสชาติเผ็ดร้อน
การตลาด
ดอกตูมที่ขายเป็นกอง ๆ ราคาไม่แพง
ลั่นทม ดอนจวบทรง. ผักพื้นบ้าน(ภาคใต้). ทางเลือกในการผลิตและการบริโภค. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก,2537.




โดย : นางสาว duangjai natrsodkig, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 28 เมษายน 2545