จวง

จวง
Cinnamomum Cassia

ชื่ออื่น จวงหอม เทพธาโร ปูต้น ไม้การบูร (ภาคเหนือ) จะได้ต้น (พายัพ) ตะไคร้ต้น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กะมะงิง (ปัตตานี) มือแด อบเชยจีน
ลักษณะ
จวงเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบดกหนาทึบให้ร่มเงาดี ใบใหญ่กว้างประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ใบโค้งรี ปลายใบแหลม ใบเรียวเป็นมันใต้ใบมีสีขาว ยอดอ่อนที่แตกใหม่มีสีแดง ทำให้แตกต่างจากอบเชย ซึ่งมีกลิ่นหอมคล้ายกัน เนื้อไม้จวงมีสีขาว มีกลิ่นฉุนเหมือนการบูร สามารถกลั่นเอาน้ำมันไปดัดแปลงให้เป็นการบูรได้
แหล่งที่พบ
พบตามป่าทึบที่สูง และป่าเชิงเขา
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์ได้โดยใช้เมล็ด ขุดต้นเล็ก ๆ มาปลูก และใช้กิ่งปักชำ ปกติจะไม่ปลูกเพราะมีขึ้นอยู่ตามป่าอยู่แล้ว
การบริโภคและสรรพคุณ
ใช้ยอดอ่อนเป็นผักจิ้มน้ำพริก ยอดจะมีในช่วงฤดูแล้ง
จวงมีสรรพคุณทางสมุนไพร แก้วิงเวียน เหน็บชา บำรุงเลือด โดยใช้รากและเนื้อไม้มากต้มกิน้ำ
การตลาด ไม่พบขายตามตลาด


ลั่นทม ดอนจวบทรง. ผักพื้นบ้าน(ภาคใต้). ทางเลือกในการผลิตและการบริโภค. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก,2537.



โดย : นางสาว duangjai natrsodkig, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 28 เมษายน 2545