ชะพลู

ชะพลู
(Pepper)
Piper sarmentasum Roxb.

ชื่ออื่น ช้าพลู (ภาคกลาง) ชะพลูเถา เฌอภลู (สุรินทร์) นมวา (มลายู) ผักปูนา ผักปูลิง ผักปูริง ปูลิงนก ผักพลูนก ผักอีเลิศ พลูลิง (ภาคเหนือ) เย่เท้ย (กะเหรียง – แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะ
ชะพลูเป็นพืชอยู่ในวงศ์ Piperaceae เป็นไม้เถาเลี้ยทอดไปตามพื้นดินเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กต้นเตี้ยสูงประมาณ 50 – 60 เซนติเมตร ลำต้นเป็นข้อ มีรากตามข้อ ใบรูปหัวใจลักษณะคล้ายใบพลู สีเขียวเข้ม เห็นเส้นใบชัดเจน ผิวใบไม่เรียบ ใบมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย ต้นและใบมีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกออกตามยอดเป็นช่ออัดแน่น มีดอกข่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว
แหล่งที่พบ
พบขึ้นอยู่ทั่วไปตามที่ชื้น มักจะขึ้นเป็นกลุ่มข้างลำธาร และในป่าดิบแล้ง
การขยายพันธุ์
ขุดแยกต้นเดิมไปปลูกได้ทั่วไปในที่ชื้น
การบริโภคและสรรพคุณ
ใบอ่อนใช้แกงกะทิ กุ้ง ปลา หรือหอยบางชนิด เช่น หอยโข่ง หอยแครง เป็นต้น ทำห่อหมก ใบสดหั่นใส่ข้าวยำ และใบทำเมี่ยงคำ คือ ใช้ห่อเครื่องเมี่ยงคำ
ใบชะพลูมีโปรตีนค่อนข้างสูง เมื่อผสมกับอาหารประเภทเนื้อ จะช่วยให้ย่อยง่ายขึ้น นอกจากนี้ชะพลูยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรอีกด้วย โดยใบชะพลูทำให้เสมหะแห้ง บำรุงน้ำดีและไข้ดีซ่าน แก้ท้องอืด แก้เบื่ออาหาร นอกจากนี้ส่วนต่าง ๆ ของชะพลูยังมีคุณค่าทางสมุนไพรอีกมากมาย
ข้อควรระวัง ถ้ากินใบชะพลูมากเกินไปจะทำให้เวียนหัวได้
การตลาด
ใบชะพลูมีขายตามตลาดทั่วไปกำขนาดกำมือ ราคากำละ 2 บาท มีขายตลอดปี แต่มีมากในฤดูฝน

ลั่นทม ดอนจวบทรง. ผักพื้นบ้าน(ภาคใต้). ทางเลือกในการผลิตและการบริโภค. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก,2537.





โดย : นางสาว duangjai natrsodkig, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 28 เมษายน 2545