โด๊เด๊

โด๊เด๊
ชื่ออื่น ตุเต๊ะ ตูเด๊ะ โตเด๊ะ
ลักษณะ
เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่ม สูงประมาณ 1 – 2 เมตร แตกกิ่งก้านจำนวนมากในเลี้ยงคู่เรียว กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ใบสีเขียวเข้ม หนา ไม่มีขน เห็นเส้นใบเด่นชัด ขอบใบเรียบ ใบแก่จะมีคราบจุดสีดำ จับเห็นเด่นชุดต่างจากใบไม้อื่น กิ่งแขนงหนึ่งจะมีใบประมาณ 6 ใบ ออกสลับข้างกัน ดอกเป็นพวงขนาดเล็กสีเหลือง ลูกอ่อนสีเหลือง เมื่อแก่เป็นสีแดง ลูกจะออกตามลำต้น ในช่วงฤดูแล้ง
แหล่งที่พบ
พบทั่วไปตามป่าที่เสื่อมโทรม ตามริมทุ่งนา ในสวนยาง ป่าละเมาะ ชายทะเลที่เป็นดินทราย
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือแยกต้นขนาดเล็กมาปลูก
การบริโภคและสรรพคุณ
ยอดอ่อนและใบเพสลาด (ไม่แก่ไม่อ่อน) ใช้ลวกกะทิเป็นผักจิ้ม แกงเลียงชาวบ้านกิ่งอำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล เชื่อว่าถ้านำใบโด๊ะเด๊ะทั้งก้านมาแกงจะทำให้น้ำแดงหอมและรสชาติดี ปกติยอดอ่อนโด๊ะเด๊ะตามธรรมชาติมีในช่วงฤดูแล้ง แต่หากเราหมั่นเด็ดยอด จะทำให้ยิ่งแตกยอดและใบใหม่
การตลาด กำขนาดกำมือ ราคากำละ 2 – 3 บาท
ลั่นทม ดอนจวบทรง. ผักพื้นบ้าน(ภาคใต้). ทางเลือกในการผลิตและการบริโภค. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก,2537.



โดย : นางสาว duangjai natrsodkig, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 28 เมษายน 2545