แป๊ะก้วย จัดเป็นสกุลพืชที่มีอายุมากที่สุดของพืชมีเมล็ดทั้งหมด คือประมาณ 150 ปี คนมักจะเข้าใจว่าเป็นพืชดอก(แต่แท้จริงเป็นพืชไม่มีดอกคือ จิมโนสเปิร์ม เหมือนปรง สน เพราะ เปลือกหุ้มเมล็ดที่อวบอ่อนนุ่มทำให้คิดว่าเป็นผล ตามประวัติศาสตร์ แป็ะก้วยเจริญที่ภาคกลางของจีนเท่านั้น ต่อมาภายหลังปลูกเป็นไม้ประดับในทวีปอเมริกา ยุโรป และส่วนอื่นของเอเชีย เนื่องจากแป็ะก้วยสามารถทนต่อมลพิษหลายชนิด จึงนำมาปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาสองข้างถนน และปลูกในบริเวณเขตอุตสาหกรรม เช่นที่ปักกิ่งและลอสแองเจลลิส ประเทศไทยเริ่มนำ แป็ะก้วย เข้ามาปลูกเพราะคุณสมบัติทางสมุนไพร




แป็ะก้วย เป็นไม้ผลัดใบขนาดใหญ่มีเนื้อไม้ รูปร่างของใบคล้ายพัด แยกต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย พบ microsporangium เรียงตัวเป็นคู่ ๆ บน cone ของตัวผู้ ส่วนต้นตัวเมียจะพบ ovule เป็นคู่ ๆ ที่ปลายกิ่ง สั้น ๆ หลังการปฏิสนธิ ovule พัฒนาไปเป็นเมล็ดที่มีเปลือกหุ้มเมล็ออ่อนนิ่ม คนไม่นิยมปลูกต้นตัวเมียเพราะกรด butyric ที่สะสมอยู่ที่เปลือกหุ้มเมล็ดส่งกลิ่นเหม็นเน่า ๆ
สเปิร์มของ แป๊ะก้วย มีแส้ เช่นเดียวกับปรง แต่ไม่ได้ใช้น้ำเป็นตัวกลางในการปฏิสนธิ เพราะสเปิร์มเข้าสู่ egg ทาง pollen tube ลักษณะของ แป๊ะก้วย ที่พบในปัจจุบันยังเหมือนบรรพบุรุษเมื่อ 150 ล้านปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่า พวก แป๊ะก้วย มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมน้อยมาก
ประโยชน์ ปัจจุบันมีการนำใบมาสกัดเป็นยาป้องกันโรคอัลไซเมอร์ เมล็ดจะมีเนื้อสีเหลือง ๆ ใช้รับประทานเป็นอาหารหวาน โดยนำเมล็ดแห้งซึ่งมีเปลือกแข็งมากมากระเทาะเปลือกออก นำมาแช่น้ำแล้วต้มน้ำตาล หรือประกออาหารหวานแบบต่าง ๆ



โดย : นาง เพ็ญประภา มงคลกุล, ร.ร เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 499 ถ.พัฒนาการ 58 แขวงสวนหลวง ประเวศ กรุงเทพฯ 25150, วันที่ 1 พฤษภาคม 2545