พฤติกรรมปกป้องตัวอ่อนของปูทะเล

ปูทะเล
ชื่อไทย ปูทะเล
ชื่ออังกฤษ Serrated mud crap
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scylla serrata

ลักษณะทั่วไป โครงสร้างส่วนที่เป็นส่วนหัวและส่วนอกจะมีกระดองห่อหุ้มไว้ กระดองจะมีลักษณะเป็น รูปไข่และมีหนามเรียงจากตาไปทางซ้าย-ขวาของกระดองด้านละ 9 อัน มีโครงสร้างที่เรียกว่า จับปิ้ง พับอยู่ใต้กระดองซึ่งเป็นอวัยวะที่ใช้เป็นที่อุ้มพยุงไข่ของแม่ปู(ในระยะที่ไข่ออกนอกกระดอง) ตาของปูเป็นตารวมประกอบด้วยตาเล็ก ๆ จำนวนมาก มีก้านตาช่วยในการชูลูกตาออกมาภายนอกเบ้า ปูทะเลมีขา 5 คู่ ขาคู่แรกมีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ เรียกว่า ก้ามปู ปลายก้ามปูแยกออกเป็น 2 ง่ามมีลักษณะคล้ายคีม ขาคู่ที่ 2 ถึงคู่ที่ 4 ส่วนของปลายขามีลักษณะแหลม เรียกว่า ขาเดิน และขาคู่ที่ 5 ซึ่งเป็นคู่สุดท้ายมีลักษณะแบนคล้ายใบพาย เรียกว่า ขาว่ายน้ำ

พฤติกรรมการดูแลและปกป้องตัวอ่อน ปูทะเลตัวเมียจะมีเก็บไข่ไว้ในท้องเพื่อป้องกันอันตรายให้กับตัวอ่อน ที่อยู่ในไข่ โดยอาศัยจับปิ้งซึ่งเป็นโครงสร้างที่พับอยู่ใต้กระดอง เป็นอวัยวะที่ใช้เป็นที่อุ้มพยุงไข่ของแม่ปู หลังจากที่ได้ผ่านการจับคู่ผสมพันธุแล้วปูทะเลตัวเมียจะอพยพจากแหล่งหากินในบริเวณเขตน้ำกร่อยออกไปวางไข่ในทะเล



โดย : นางสาว พัชรี พิพัฒวรรณกุล, รร.ยานนาเวศวิทยาคม, วันที่ 1 พฤษภาคม 2545