สารพิษในผิวหนังของสัตว์สะเทินน

พิษของพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกนี้เรียกรวมกันว่า batrachotoxin หรือเรียกแยกออกตามสชื่อสกุลของสัตว์ที่พบว่าผิวหนังมีสารพิษอยู่ เช่นสารbufotoxinได้มาจากคางคกในสกุล bufo สาร physalaemin มาจากกบในสกุล Physalaemus และสารleptodactyline มาจากกบในสกุล Leptodactylus นอกจากนี้ยังพบสารพิษที่เรียกว่า tetrodotoxin ในผิวหนังของพวกซาลามานเดอร์บางชนิด ปกติสารนี้พบในพวกปลาปักเป้า สารพิษพวกนี้เป็นสารในกลุ่มแอลคาลอยด์(alkaloid)ที่มีพิษรุนแรงที่สุดในบรรดาสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อโดยไประงับการปิดช่องรับสารโซเดียมบนผิวหนังของเซลล์ประสาทและเซลล์กล้ามเนื้อทำให้สูญเสียสภาพการเป็นประจุไฟฟ้าของเซลล์นั้นๆไม่อาจกลับมาประจุไฟฟ้าได้อีกทำให้เกิดอาการผิดปกติในหัวใจ จนท้ายที่สุดหัวใจเกิดการล้มเหลวได้ พิษของสารนี้เพียง 0.2 มิลลิกรัมหากเข้าสู่กระแสเลือดโดยผ่านทางบาดแผลทำให้มนุษย์เสียชีวิตได้
ชางอินเดียนในทวีปอเมริกาใต้ใช้ประโยชน์จากสารพิษเหล่านี้โดยใช้อาบลูกดอกที่ใช้ในการล่าสัตว์โดยสัตว์ที่ล่ามาเมื่อนำมาปรุงด้วยความร้อนจะปลอดภัยต่อการบริโภค
จินต์ นภีตะภัฎ. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุรวัฒน์, 2544



โดย : นางสาว suteera liangporasertsiri, ปทุมธานี, วันที่ 6 พฤษภาคม 2545