เกล็ดความรู้จากมัมมี่

มัมมี่คือซากที่เก็บไว้ของคนและสัตว์มีผิวหนังติดกับซาก การเกิดมัมมี่เกิดโดยธรรมชาติหรือเกิดจากการจัดทำโดยมนุษย์โดยสภาพแวดล้อมบางอย่างเช่น เปียกชื้นตลอดเวลาแห้งจัดหนาวจัดถ้าฝังซากลงไปแล้วก็จะเกิดมัมมี่ได้เช่นเดียวกันการจัดทำขึ้นของมนุษย์เรียกว่า embalming ซึ่งชาวอียิปต์โบราณมีชื่อเสียงทางด้านนี้การทำมัมมี่ไม่ได้ทำในประเทศอียิปต์เท่านั้นแต่เกิดในหลายวัฒนธรรมทั่วโลกที่เชื่อชีวิตหลังความตาย (after life )มักจะเกี่ยวพันความเชื่อทางศาสนาบุคคลที่จะทำมัมมี่ได้แก่พวกกษัตริย์ นักบวชระดับสูง และบุคคลสำคัญเท่านั้นจึงพบมัมมี่ในวัฒนธรรมโบราณตามฝั่งชายทะเลประเทศชิลีและเปรูในราว 3,000 ปีก่อนในวัฒนธรรมประมงโบราณก่อนคริสต์กาลตลอดไปถึงประเทศโคลัมเบียและเอกวาดอร์จนถึงจึดรุ่งเรืองที่สุดในสมัยชาวอินคานอกจากนี้ชาวอินเดียนแดงในสหรัฐอเมริกาเชานชนเผ่านาวาโฮก็มีการทำมัมมี่เช่นเดียวกันแต่ละวัฒนธรรมก็จะมีการทำมัมมี่แตกต่างกันไปส่วนกรรมวิธีของชาวอียิปต์พวกเขารู้ดีว่าซากศพจะเน่าเปื่อยอย่างรวดเร็วจึงเริ่มการทำมัมมี่ตั้งแต่ขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นตอนแรกคือการเจาะช่องท้องด้านซ้ายแล้วควักเอาอวัยวะภายในออกทั้งหมดยกเว้นหัวใจไว้ตำแหน่งที่เดิมควักมันสมองออกทางรูจมูกต่อมาชะล้างท้องให้สะอาดด้วยเหล้าไวน์ที่ทำจากต้นปาล์มแล้วหมกศพไว้กองสารชื่อ natron ซึ่งมีคุณสมบัติดูดซึม น้ำและไขมันและมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียเป็นเวลานาน 70 วันจากนั้นนำซากมาอาบด้วยยางไม้เครื่องเทศแล้วทาผิวด้วยน้ำมันให้อ่อนนุ่มเอาผ้าลินินทรายหรือขี้เลื่อยไม้ยัดเข้าตรงรอยผ่าตบแต่งให้มีรูปทรงดีแล้วพันด้วยแถบผ้าลินินที่ทาด้วยกาวทั่วทั้งตัวนำมัมมี่ใส่ลงโลงที่มีหน้ากากคลุมอยู่วางไว้บนเตียงพร้อมเครื่องใช้ต่างๆวางไว้ใต้เตียงเป็นที่ตั้งของโถเก็บของอวัยวะสำคัญของผู้ตายได้แก่ ตับ ลำไส้ ปอด และกระเพาะเจ้าหน้าที่ทีมงานที่จัดทำสวมหน้ากาก หัวสุนัขจิ้งจอก ชนิด jackal เชื่อว่าเป็นตัวแทนของเทพเจ้าอนูบิส (Anubis)เครื่องมือที่ใช้ทำจากวัสดุหายากและมีคุณค่าสูงเช่น ใบมีดทำจากแก้วภูเขาไฟ ( obsidian ) ด้ามมีดทำจากทองคำ
จารุจินต์ นภีตะภัฎ. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุรวัฒน์, 2544.


โดย : นางสาว suteera liangporasertsiri, ปทุมธานี, วันที่ 6 พฤษภาคม 2545