ต้นไม้ดูดสารพิษได้อย่างไร

เศรษฐีเรือนใน เป็นไม้ประดับกระถาง ไม้แขวนที่ให้สีเขียวและผลิตออกซิเจนให้ผู้ปลูกได้ฉ่ำชื่นหัวใจแล้วยังมีคุณสมบัติ “ดูดสารพิษ”อย่างที่มนุษย์ตัวใหญ่ๆอย่างเราทำไม่ได้
มนุษย์เพิ่งค้นพบว่าต้นไม้ไม่เพียงแต่ฟอกอากาศแต่ยังขจัดอากาศเป็นพิษให้หมดสิ้นไปได้โดย ดร.บีซี วูฟเวอร์ตัน นักวิทยาศาสตร์ประจำสถายันวิจัยอวกาศองค์การนาซาของอเมริกาได้ทำวิจัยมากว่า 25 ปีค้นพบถึงประสิทธิภาพของการกำจัดสารพิษหรือมลภาวะในอากาศของไม้ประดับ และได้เขียนหนังสือเรื่อง Eco-Friendly House Plant แนะนำไม้ประดับที่มีความสามารถดูดไอพิษจากอากาศเช่น สารพิษ ฟอร์มาดิไฮด์ แอมโมเนีย ไซลีน ทูลีน ฯลฯ จำนวนถึง 50 ชนิด ต้นไม้ที่มีคุณสมบัติพิเศษดูดสารพิษส่วนใหญ่เป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต้นไม้เมืองหนาวก็พอมีอยู่บ้างน่าสังเกตที่ว่านี้คือมรดกมหาศาลของ “ความหลากหลายทางชีวภาพ”ของประเทศเขตร้อนรวมถึงเมืองไทยที่พืชพรรณมีมากชนิดกว่า ประโยชน์มากกว่าแต่คนไทยไม่ค่อยรับรู้
ต้นไม้ที่เป็นไม้ประดับที่เราปลูกภายใน-ภายนอกอาคารที่อาจจะไม้ใช่ไม้ใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขาร่มเย็นอย่างต้นไม้ในป่าหากมีความสามารถไม่แพ้ไม้ใหญ่ ไม้ประดับเหล่านี้มักเกิดและเติบโตภายใต้ต้นไม้ใหญ่ในป่าเขตร้อนชื้นมีวิวัฒนาการและปรับตัวเองมาตลอดหลายล้านปีส่วนใหญ่เป็นพืชที่เติบโตได้ดัในแสงน้อย อากาศอบอุ่นสภาพแวดล้อมชุ่มชื้นธรรมชาติสร้างให้ไม้ประดับเล็กๆเหล่านี้มีความสามารถดึงดูดจุลินทรีย์ให้มาอยู่บนหรือรอบๆรากของมันซึ่งมีความย่อยสลายโครงสร้างอินทรีย์สารที่ซับซ้อนได้ใบของต้นไม้ยังสามารถดูดซับสารอินทรีย์ที่เป็นแก๊สและย่อยหรือถ่ายโอนของเสียไปยังรากเพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับจุลินทรีย์ เหตุนี้เองทำให้ไม้ประดับสามารถดูดสารพิษได้อีกทั้งกระบวนการ “คายน้ำ”ก็เป็นอีกวิธีที่พืชใช้เคลื่อนย้ายสารที่เป็นมลพิษไปยัง
จุลินทรีย์ที่อยู่รอบๆรากของมันกระบวนการคายน้ำต้องใช้กระแสความร้อนทำให้เกิดการไหลเวียนของอากาศในขณะที่น้ำไหลจากรากขึ้นไปยังส่วนต่างๆของพืชอย่างรวดเร็วอากาศจะถูกดึงลงไปสู่ดินรอบๆรากก๊าซออกซิเจนและก๊าซไนโตรเจนในอากาศเมื่อถูกดึงไปอยู่ที่รากก๊าซไนโตรเจนจะถูกเปลี่ยนไปโดยจุลินทรีย์เป็นไนเตรทกลายเป็นอาหารของพืชกระบวนการคายน้ำและสังเคราะห์อาหารได้เองของพืชจำพวกไม้ประดับนี่เองที่ดูดสารพิษ
นักวิทยาศาสตร์ยังกำหนด “เขตหายใจ”ของคนๆหนึ่งไว้ว่าใช้พื้นที่ประมาณ 0.17-0.23
ลูกบาศก์เมตร(6-8ลูกบาศก์ฟุต)รอบตัวคนที่นั่งทำงาน(สมมติว่าอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์)คำนวณให้เป็นพื้นที่เฉลี่ยโดยทั่วไปที่คนๆหนึ่งจะใช้เวลาที่นั่งทำงานอยู่นานหลายชั่วโมงหรืออาจจะเป็นพื้นที่ในการนั่งดูทีวีหรือบนเตียงนอนถ้ากะไม่ถูกก็ลองคิดถึงภาพถ่ายจากกล้องถ่ายรูปธรรมดาถ้าถ่ายรูปคนนั่งเก้าอี้ทำงาน(นั่งดูทีวีหรือนอนบนเตียง)ถ่ายภาพให้เห็นเต็มตัวระยะกลางเห็นโต๊ะ-เก้าอี้และเครื่องคอมพิวเตอร์ในพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมนั่นคือเขตหายใจของคนๆหนึ่งซึ่งถ้าวางต้นไม้ในเขตคนหายใจนอกจากจะได้เห็นสีเขียวเย็นตาแล้วต้นไม้จะช่วยเพิ่มความชื้นขจัดก๊าซพิษจากมนุษย์และสารพิษอากอุปกรณ์สำนักงาน กำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคต่างๆ

คมสัน หุตะแพทย์ ไม้ประดับดูดสารพิษ.กรุงเทพธุรกิจ(กรุงเทพวันอาทิตย์) อาทิตย์ 17 กุมภาพันธ์ 2545. : 12.



โดย : นางสาว Sompit Mankham, ripw klongluang pathumthani bangkok, วันที่ 11 พฤษภาคม 2545