การใช้สปรินนิ่งโคนคอลัมน์

สปรินนิ่งโคนคอลัมน์(Spinning Cone Column) เป็นอุปกรณ์ที่แยกสารที่ละเหยได้ออกจากของเหลวในระบบต่อเนื่อง นำมาประยุกต์ใช้กับการผลิตไวน์แอลกอฮอล์ต่ำได้ดี เนื่องจากว่าวิธีการนี้สามารถรักษากลิ่นของไวน์ไว้ให้คงเดิมได้ ในขณะที่การใช้วิธีการอื่นไม่ว่าจะเป็นการระเหยด้วยความร้อนซึ่งกลิ่นของไวน์จะถูกทำลายไปหรือการใช้รีเวอร์สออสโมซิส กลิ่นของไวน์จะลดลงและจำเป็นต้องเติมน้ำเพื่อปรับปริมาตรให้คงเดิม
สปรินนิ่งโคนคอลัมน์ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักสองส่วน คือ ท่อทรงกระบอกสูงด้านในยึดติดด้วยแผ่นโลหะรูปร่างคล้ายกรวยกรองก้นตัดหลายๆแผ่นซ้อนกันอยู่และส่วนที่สองเป็นแกนกลางซึ่งหมุนได้และยึดติดด้วยแผ่นโลหะรูปร่างคล้ายกรวยกรองหลายไแผ่นซ้อนกันอยู่และวางสลับกับแผ่นโลหะของท่อทรงกระบอก ในระหว่างการใช้งานแกนกลางจะหมุนอยู่ตลอดเวลากระบวนการกำจัดแอลกอล์ออกจากไวน์มีสองขั้นตอนคือ
ขั้นตอนแรก เป็นขั้นตอนการแยกสารที่ระเหยได้ออกจากไวน์โดยเริ่มจากการนำไวน์เข้าทางด้านบนของคอลัมน์ไวน์จะถูกจะถูกเหวี่ยงออกจากจุดศูนย์กลางตามแรงเหวี่ยงของแกนหมุนทำให้ไวน์กลายเป็นแผ่นฟิล์มบางๆในขณะเดียวกันอากาศจะถูกผ่านเข้าทางด้านล่างของคอลัมน์และลอยตัวขึ้นด้านบนในขณะเดียวกันก็สวนทางกันกับทิศทางการไหลของไวน์การไหลของอากาศจะช่วยพัดพาเอาสารที่ระเหยได้ง่ายหลุดออกมาด้วย เช่น กลิ่นของไวน์สารที่จะนำไปทำให้กลั่นตัวเพื่อเก็บไว้ใช้ต่อไป ขั้นตอนนี้ใช้อุณหภูมิประมาณ 26-28 องศาเซลเซียส ภายใต้สภาวะสุญญากาศ
ขั้นตอนที่สอง เป็นการกำจัดแอลกอฮอล์ออกจากไวน์โดยการผ่านไวน์ที่ได้ในขั้นตอนแรกเข้าไปในคอลัมน์เพื่อเหวี่ยงอีกครั้งโดยใช้อุณหภูมิสูงขึ้นเป็น 33-35 องศาเซลเซียสภายใต้สภาวะสุญญากาศเพื่อทำให้แอลกอฮอล์ระเหยออกมาและนำมากลั่นตัวเพื่อใช้ประโยชน์อื่นต่อไป ส่วนที่ได้จะเป็นไวน์ปราศจากแอลกอฮอล์จะได้ไวน์ที่มีกลิ่นคงเดิม

โครงการเผยแพร่ความรู้และผลงานทางวิชาการผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,4 พฤษภาคม 2545 : 11.



โดย : นางสาว Sompit Mankham, ripw klongluang pathumthani bangkok, วันที่ 11 พฤษภาคม 2545