เอพิเดอร์มิส
epidermis เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว อยู่ชั้นนอกสุด เป็นส่วนที่สัมผัสกับภายนอก ปกคลุมส่วนต่าง ๆ ของพืชทั้งราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด มีกำเนิดมาจากชั้น Protoderm เมื่อมีการเจริญขั้นที่ 2 จะสลายไป เนื่องจากมีชั้นของ cork ที่เกิดขึ้นใต้ epidermis เจริญดันออกมา เซลล์ epidermis มีหน้าที่หลายอย่าง เช่น ป้องกันอันตราย ป้องกันน้ำระเหย เกี่ยวข้องกับการหายใจ คายน้ำ สังเคราะห์ด้วยแสง หรือสร้างเซลล์ใหม่ปกคลุมเมื่อมีบาดแผล เป็นต้น
เนื่องจากเซลล์ epidermis มีหน้าที่หลายอย่างจึงมีรูปร่างและโครงสร้างแตกต่างกันไป เช่น
1. เปลี่ยนเป็น Trichome ได้แก่ ขนราก ขนตามลำต้น ตามผิวใบ Trichome ยังสามารถขับสารออกมาภายนอกได้ เรียกว่า glandular trichome ซึ่งมีหลาย รูปแบบ ได้แก่
- ขนพิษ (stinging hair) พบในพืชพวกตำแย ปลายขนจะแหลม ส่วนโคนเป็นกระเปาะมีสารพิษพวก histamine และ acetylcholine ทำให้เกิดอาการคัน แสบร้อน ดังภาพ
- Colleter เป็นต่อมที่ขับน้ำเหนียว ๆ ออกมาหุ้มยอดอ่อน ลักษณะภายนอกเห็นเป็นขนสีน้ำตาล
มักพบตามซอกด้านในของหูใบหรือก้านใบ
- ต่อมขับเกลือ (salt-secreting trichomes) มักพบในใบพืชชายเลน
- ต่อมผลิตน้ำหวาน (nectar-secreting trichomes)

2. เปลี่ยนเป็นปากใบ (stomata) โดย epidermis 2 เซลล์ เปลี่ยนรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วหันด้านเว้าประกบกันตรงกลางเกิดเป็นช่อง 2 เซลล์นั้นเรียกว่า เซลล์คุม ภายในมีเม็ดคลอโรพลาสต์จำนวนมาก และเรียกรวมทั้งเซลล์คุมและรูเปิดว่า ปากใบ



แหล่งข้อมูล : ภูวดล บุตรรัตน์. โครงสร้างภายในของพืช. 2535

โดย : นาง ปรียา ชมเชี่ยวชาญ, ศรีปทุมพิทยาคาร, วันที่ 12 พฤษภาคม 2545