พาเร็งคิมา
เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว ประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิต พบได้แทบทุกส่วนของอวัยวะพืช เช่น ใน cortex หรือ pith ของลำต้นและรากส่วนที่อ่อนนุ่ม สามารถอมน้ำได้มาก และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวกับการลำเลียงทั้ง xylem และ phloem ในระยะการเจริญขั้นแรกของพืชเนื้อเยื่อ parenchyma มีกำเนิดจากกลุ่มของ ground meristem ส่วน parenchyma ที่อยู่ในกลุ่มท่อลำเลียงเจริญมาจาก procambium รูปร่างค่อนข้างกลม หรือหลายเหลี่ยม ทำให้มีช่องว่างระหว่างเซลล์ (intercellular space) เกิดขึ้นตามมุมที่เซลล์แตะกัน
parenchyma มีรูปร่างได้หลายแบบแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่อยู่และหน้าที่พิเศษ เช่น ในก้านใบพุทธรักษา หรือพืชน้ำบางชนิด parenchyma มีลักษณะเป็นแฉกคล้ายดาว เรียกว่า stellate parenchyma ทำให้เกิดช่องว่างใหญ่ช่วยสะสมอากาศ จึงเรียก parenchyma ชนิดนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า aerenchyma นอกจากนั้น ในชั้น palisade cell ของใบ parenchyma จะมีรูปร่างยาวแนวตั้ง หรือคล้ายตัวยู

parenchyma บางกลุ่มมีเม็ดคลอโรพลาสต์ จึงช่วยสังเคราะห์ด้วยแสง เรียก parenchyma ชนิดนี้ว่า chlorenchyma นอกจากนี้ยังช่วยสะสมอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โปรตีน ในพืชที่ขึ้นตามสภาพขาดแคลนน้ำ (xerophyte) parenchyma จะช่วยสะสมน้ำ โดยเซลล์มีขนาดใหญ่ ผนังบาง เรียกว่า water storage cell เช่นที่พบในใบโกงกาง ใบยางอินเดีย



แหล่งข้อมูล : ภูวดล บุตรรัตน์. โครงสร้างภายในของพืช. 2535.

โดย : นาง ปรียา ชมเชี่ยวชาญ, ศรีปทุมพิทยาคาร, วันที่ 12 พฤษภาคม 2545