ไวรอยด์

ไวรอยด์สามารถก่อให้เกิดโรคในพืชได้เช่นเดียวกับไวรัส ไวรอยด์เป็นเพียงแค่สาย RNA สั้น ๆ ที่มีความยาวประมาณ 300 - 400 ลำดับเบส โดยไม่มีกลุ่มโปรตีนล้อมรอบเลย RNA ที่เป็นไวรอยด์ปกติจับคู่ภายในโมเลกุล ทำให้โมเลกุลอยู่ในลักษณะปิดและซ้อนทับกันเป็นโครงสร้างสามมิติ ซึ่งทำให้นักชีววิทยา
เข้าใจว่า ไวรอยด์คงจะใช้โครงสร้างสามมิตินี้ในการปกป้องไม่ให้ตัวเองถูกทำลายด้วยเอนไซม์ต่าง ๆ ที่อยู่ในเซลล์เจ้าบ้าน RNA ของไวรอยด์ ไม่มีรหัสสำหรับโปรตีนใด ๆ ทั้งสิ้น จึงสรุปว่าไวรอยด์เป็นเชื้อโรคต่อพืชเท่านั้น ในแต่ละปีความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากพวกไวรอยด์ที่ทำลายมันฝรั่งมีมูลค่าโดยรวมสูงมาก ทำให้นักชีววิทยามีบทบาทอย่างมากในการร่วมแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ที่เกิดจากการบุกรุกทำลายมันฝรั่งของพวกไวรอยด์

การวิจัยในปัจจุบันเกี่ยวกับไวรอยด์พยายามที่จะแสดงให้เห็นความคล้ายคลึงระหว่างลำดับเบสของไวรอยด์ กับลำดับเบสของอินทรอน ( introns ) " อินทรอน คือลำดับเบสที่ได้มาจากสารพันธุกรรมแต่ไม่มีรหัสในการสร้างโพลีเปปโตด์ "

การศึกษาไวรัสในมุมมองนี้เพื่อให้เข้าใจถึงสมมติฐานว่า ไวรอยด์มีวิวัฒนาการมาจากอินทรอน ในอนาคตนักชีววิทยาจะใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับไวรอยด์ที่ได้จากการศึกษาในพืชไปใช้ในการค้นหาว่ามีไวรอยด์ที่เฉพาะเจาะจงต่อสัตว์หรือไม่ นักชีววิทยาเชื่อว่ากลไกในการทำลายเซลล์พืชของไวรอยด์ คือการขัดขวางไม่ให้โครโมโซมของพืชรวมตัวกัน ทำให้สารพันธึกรรมของพืชไม่สามารถมีพฤติกรรมปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ ผลสุดท้ายก็คือเซลล์พืชตาย สมมติฐานเกี่ยวกับกลไกนี้ได้มาจากพฤติกรรมของอินทรอนทั่วไป


จาก Biodiversity : Viruses
โดยอาจารย์ชาคร รัศมีเฟื่องฟู ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี



โดย : นาย ปราโมทย์ น้ำยาง, ร.ร เทพศิรินทร์ นนทบุรี, วันที่ 12 พฤษภาคม 2545