สเกลอเรงคิมา
เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว โดยทั่วไปเจริญมาจาก ground meristem ถ้าเป็น sclerenchyma ที่อยู่ในกลุ่มท่อลำเลียง เจริญมาจาก procambium มีผนังเซลล์หนามาก เนื่องจากมี secondary wall ฉาบทับชั้น primary wall อีกชั้นหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นสารพวกเซลลูโลสและลิกนิน เมื่อเจริญเต็มที่เป็นเซลล์ไม่มีชีวิต ช่วยให้เกิดความแข็งแรง
Sclerenchyma แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามลักษณะรูปร่าง คือ
1. Fiber มีรูปร่างยาว ปลายเสี้ยมแหลม ไม่แตกแขนง ผนังเซลล์หนามาก ส่วนมากเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว มักพบ fiber ในใบ ในผล เช่น ส่วนเส้นใยกาบมะพร้าว

2. Sclereid เป็น sclerenchyma ที่มีรูปร่างหลายแบบ เช่น กลม รี หรือ รูปร่างยาวแต่สั้นกว่า fiber แตกกิ่งออกด้านข้างหรือปลายเซลล์ จึงมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปดังนี้
- Stone cell รูปร่างรี ผนังหนา เช่น เซลล์กะลามะพร้าว
- Astrosclereid รูปร่างเป็นแฉกคล้ายดาว เช่น ที่พบในก้านใบพลูฉีก
- Trichosclereid ลักษณะคล้ายขนของพืช เช่น ในก้านใบบัวสาย
- Filiform sclereid มีรูปร่างยาว ส่วนปลายแตกเป็นแฉก

- Columnar sclereid รูปร่างคล้ายตัว H (H-shape) ส่วนปลายแตกกิ่ง พบในราก และชั้น mesophyll ของใบ

Sclerenchyma พบตามส่วนที่แข็ง ๆ ของพืช เช่น เปลือกเมล็ด เนื้อผลไม้ที่เป็นเสี้ยนหรือมีเนื้อ สาก ๆ หรือพบในใบที่เปลี่ยนแปลงไปช่วยหุ้มส่วนอื่น เช่น เปลือกกระเทียม

แหล่งข้อมูล : ภูวดล บุตรรัตน์. โครงสร้างภายในของพืช. 2535.

โดย : นาง ปรียา ชมเชี่ยวชาญ, ศรีปทุมพิทยาคาร, วันที่ 12 พฤษภาคม 2545