พาราโบลาโบ๊ท


ความเป็นมา
เนื่องจากปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการขนส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นทางรถยนต์ ทางรถไฟ ทางเครื่องบิน หรือทางเรือ ซึ่งพบว่าการขนส่งทางเรือเหมาะที่จะขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมาก มีจำนวนมากและมีขนาดใหญ่ ในการผลิตเรือ ผู้ต่อเรือจะต้องออกแบบเรือว่าท้องเรือลักษณะแบบใดเหมาะที่จะขนส่งสินค้าดังกล่าวได้ ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาและต้นทุนการผลิตได้มากที่สุด
จุดประสงค์
เพื่อที่จะศึกษาว่าท้องเรือลักษณะแบบใดเหมาะที่จะทำการขนส่งสินค้ามากที่สุด ทำให้ลดต้นทุนและประหยัดเวลาในการขนส่ง
เนื้อหาทางคณิตศาสตร์ที่ใช้
รูปทรงเรขาคณิต พาราโบลา การชั่งตวง ค่าเฉลี่ย และแผนภูมิแท่ง
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
แผ่นอลูมิเนียม ใบมีด กรรไกร วัตถุที่นำมาชั่งน้ำหนักแทนสิ่งของ คือ ลูกแก้ว น้ำ และภาชนะใส่น้ำ สีที่ใช้ในการพ่นเรือ กาวยาง



วิธีการดำเนินการ
1. ร่วมกันวางแผนการต่อเรือจำลอง โดยใช้แผ่นอลูมิเนียมนำมาตัดและต่อให้เป็นรูปเรือ โดยมีท้องเรือลักษณะต่าง ๆ เช่น ท้องเรือรูปพาราโบลา ท้องเรือที่มีลักษณะแบนราบ และท้องเรือรูปสามเหลี่ยม โดยให้เรือแต่ละลำมีน้ำหนักเท่ากัน และพ่นสี
2. นำเรือไปลอยในภาชนะใส่น้ำ
3. ใส่ลูกแก้วแทนสินค้าลงในเรือแต่ละลำครั้งละปริมาณเท่า ๆ กัน สังเกตการรับน้ำหนักของเรือแต่ละลำว่าเรือลำใดสามารถจะรับน้ำหนักได้มากที่สุด และอยู่ในสภาพสมดุล นำลูกแก้วไปชั่งน้ำหนัก ปฏิบัติลักษณะเช่นนี้อีก 2 ครั้ง
4. บันทึกผลที่เกิดขึ้นลงในแบบบันทึกผล หาค่าเฉลี่ยในการบรรทุกน้ำหนักทั้ง 3 ครั้ง
5. รวบรวมข้อมูลที่ได้ นำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง
6. ทำแผ่นป้ายนิเทศเสนอผลงาน

ผลการทดลอง พบว่า
ท้องเรือลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม น้ำหนักที่บรรทุกได้ 170 , 185 , 178 เฉลี่ย 177.66 กรัม
ท้องเรือลักษณะแบนราบ น้ำหนักที่บรรทุกได้ 272 , 260 , 262 เฉลี่ย 264.66 กรัม
ท้องเรือลักษณะเป็นรูปพาราโบลา น้ำหนักที่บรรทุกได้ 315 , 318 , 310 เฉลี่ย 314.33 กรัม
ผลการทำโครงงาน
จากการนำลูกแก้วซึ่งใช้แทนสินค้าใส่ลงในเรือที่มีลักษณะท้องเรือแบบต่าง ๆ พบว่าเรือที่มีท้องเรือลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมจะรับน้ำหนักได้น้อยที่สุด เรือที่มีท้องเรือลักษณะแบนราบจะรับน้ำหนักได้มากกว่าเรือที่มีท้องเรือเป็นรูปสามเหลี่ยม และเรือที่มีลักษณะท้องเรือเป็นรูปพาราโบลาจะรับน้ำหนักได้มากที่สุด
ปัญหาในการดำเนินงาน
ไม่สามารถจะประดิษฐ์เรือจริง ๆ มาทดลองได้ จึงจำเป็นที่ต้องประดิษฐ์เรือจำลองขึ้นมาแทน

จากการประกวดโครงงานคณิตศาสตร์ โรงเรียนปทุมวิไล ปีการศึกษา 2543








โดย : นาง รสริน แสงศิริ, รร.ปทุมวิไล, วันที่ 22 พฤษภาคม 2545