การย้อมสีแกรม แบคทีเรีย


การย้อมสีวิธี Gram จัดเป็น differential stain ที่สำคัญที่สุดในการจำแนกแบคทีเรีย การย้อมสีวิธีนี้จะแบ่งแบคทีเรียออกเป็น 2 พวก ซึ่งขึ้นอยู่กับการติดสี
แบคทีเรียที่ยังคงติดสี crystal violet (สีน้ำเงินหรือม่วง) หลังจากการล้างด้วยแอลกอฮอล์เรียกว่า "Gram-positive"ส่วนพวกที่ไม่ติดสีของcrystal violet แต่ติดสีที่ย้อมทับ (Counter stain) ของ Safranin (สีแดง) เรียกว่า "Gram-negative"
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อย้อมสีมีดังนี้
การย้อมสี Gram ในขั้นแรกย้อม smear ด้วยสี crystal violet เซลล์แบคทีเรียทุกเซลล์บน smear จะติดสีน้ำเงินหรือม่วง เนื่องจากผนังเซลล์ของแบคทีเรียแกรมบวกมีผนังหนาจึงติดสี crystal violet ได้ดีและเมื่อเติมสารละลายไอโอดีนลงไปจะรวมกับสี crystal violet กลายเป็นผลึกที่มีโครงสร้างซับซ้อน
( crystal violetiodine complex ) ทำให้สีติดดียี่งขึ้น ต่อมาเมื่อล้างเซลล์แบคทีเรียด้วย ethyl alcohol 95% ขั้นตอนนี้ แบคทีเรียแกรมลบซึ่งมีไขมันอยู่ในส่วนประกอบของผนังเซลล์มาก ไขมันจะถูกละลายออกมากับแอลกอฮอล์ ทำให้รูผนังเซลล์กว้างขึ้น ผลึกของสีจึงหลุดออกมากับผนังเซลล์ตอนนี้แบคทีเรียนแกรมลบจึงไม่ติดสี ส่วนแบคทีเรียนแกรมบวกที่มีส่วนประกอบของผนังเซลล์ที่เป็นไขมันอยู่น้อย ผลึกของสียังคงติดแน่นอยู่ ( crystal violet สีน้ำเงินหรือม่วง) ซึ่งต่อมาเมื่อย้อมทับด้วยSafranin (สีแดง) ผนังเซลล์ของแบคทีเรียพวกแกรมลบซึ่งเดิมไม่ติดสีจะติดสีแดงในขั้นตอนนี้จึงเห็นความแตกต่างระหว่างแบคทีเรียทั้ง 2 กลุ่มอย่างชัดเจน





โดย : นาย ปราโมทย์ น้ำยาง, ร.ร เทพศิรินทร์ นนทบุรี, วันที่ 1 มิถุนายน 2545