คณิตศาสตร์ 203

คำนำ
บทเรียนแบบโปรแกรม บทที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นี้
เป็นสื่อการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนรู้จักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองตามศักยภาพแห่งบุคคล
ผู้จัดทำหวังว่าสื่อการเรียนการสอนนี้ คงจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษา
และเป็นเพียงสื่อส่วนหนึ่งในการที่จะช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาตนเอง

นางสาวโสภา จิตตวิไลย
27 เมษายน 2545
สารบัญ
หน้า
1. แบบทดสอบก่อนเรียน ก.
2. เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน ข.
3. กรอบที่ 1 บทที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม 1
- 1.1 ประโยค 1
4. กรอบที่ 2
- 1.2 จำนวนเต็มบวกและศูนย์ 2
- สมบัติการบวกและการคูณ 2
5. กรอบที่ 3
- สมบัติการบวกและการคูณของจำนวนเต็มบวก ( ก สมบัติการบวก ) 3
6. กรอบที่ 4
- สมบัติการบวกและการคูณของจำนวนเต็มบวก ( ก สมบัติการคูณ ) 4
7. กรอบที่ 5
- 1.3 จำนวนเต็มลบ 5
8. กรอบที่ 6
- 1.4 ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็ม 6
9. กรอบที่ 7
- 1.5 การบวกจำนวนเต็มลบ 7
- 1.5.1 การบวกระหว่างจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ 7
10. กรอบที่ 8
- 1.5.2 การบวกระหว่างจำนวนเต็มบวก กับจำนวนเต็มลบ จำนวนเต็มลบ 8
11. กรอบที่ 9
- 1.6การลบจำนวนเต็มลบ 9
12. แบบทดสอบหลังเรียน 10
13. เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน 11
14. บรรณานุกรม 12





แบบทดสอบก่อนเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ค 203
บทที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ตอนที่ 1 คำชี้แจง เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ประโยคใดต่อไปนี้เป็นจริง
ก. 0 ไม่ใช่จำนวนเต็ม ข. 0 เป็นจำนวนเต็มบวก
ค. 0 ไม่ใช่จำนวนนับ ง. จำนวนนับที่มีค่ามากที่สุด คือ 0
2. ประโยคใดต่อไปนี้เป็นเท็จ
ก. 1 เป็นจำนวนนับที่มีค่าน้อยที่สุด ข. – 1 เป็นจำนวนเต็มลบที่มีค่าน้อยที่สุด
ค. 5 + 0 = 5 ง . 0 x 3 = 3 x 0 = 0
3. [ ( 4 + 3 ) – ( --5 ) ] x 0 มีผลลัพธ์เท่ากับข้อใด
ก. 0 ข. 1
ค. 2 ง. 12
4. ข้อใดเรียงจากน้อยไปหามาก
ก. –1, -3 , --5 , --7 ,… ข. 0, --1 , 1 , --2 , 2
ค. 2 , 1 ,0 , -1 , --2 ง. –2 , --1 , 0 ,1 , 2
5. ผลลัพธ์ของ (--2 ) + ( -- 32 ) ได้เท่าใด
ก. – 30 ข. 30
ค. -- 34 ง. 34
6. ผลบวกของ ( --29 ) + 35 ได้เท่าใด
ก. 6 ข. --6
ค. – 64 ง. 64
7. ผลบวกของ ( --79 ) + 21 ได้เท่าใด
ก. 58 ข. -58
ค. – 100 ง. 100
8. ( --44 ) -- (-- 59 ) ได้ผลลัพธ์เท่ากับเท่าใด
ก. – 15 ข. 15
ง. – 103 ง. 103
9. ค่าสัมบูรณ์ของ [ (--4 ) + ( -- 7 ) ] + 5 เท่ากับเท่าใด
ก. 2 ข. 6
ค. 8 ง. 16
10. อุณหภูมิที่กรุงเทพมหานคร และที่กรุงเวียนนาเท่ากับ 38 และ --6 องศาเซลเซียสตามลำดับ
อุณหภูมิของทั้งสองแห่งต่างกันกี่องศา
ก. 32 องศาเซลเซียส ข. 40 องศาเซลเซียส ค. 44 องศาเซลเซียส ง. 46 องศาเซลเซียส



เฉลย
แบบทดสอบก่อนเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ค 203
บทที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

1. ค 2. ข 3. ก 4. ง 5. ค
6. ก 7. ข 8. ข 9. ข 10. ค

























กรอบที่ 1
เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม
1.1 ประโยค
ประโยค คือ คำพูด หรือข้อข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอนหนึ่งๆ ตัวอย่างเช่น
1) 4 X 3 = 12 4) ½ เป็นจำนวนเต็ม
2) 7+ 6 = 14 5) M + 9 = 25
3) 11 > 7 6) เขาเป็นนักร้อง
ข้อสังเกต จากประโยคดังกล่าวนั้นเราจะพบว่า บางประโยคสามารถตอบได้ว่าประโยคนั้นเป็น " จริง " หรือ เป็น " เท็จ " ได้แก่ ประโยค 1) ถึง 4) แต่บางประโยค
เราไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นจริง หรือเท็จ ได้แก่ ประโยคที่ 5) และ 6)
ประโยค 1 ) เป็นจริง ประโยค 2 ) เป็นเท็จ
ประโยค 3 ) เป็นจริง ประโยค 4 ) เป็นเท็จ
ประโยค 5 ) ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ เพราะ ไม่ทราบค่า X
ประโยค 6 ) ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ เพราะ ไม่ทราบค่า " เขา " เป็นใคร
เราเรียก " X " ในประโยค 5) และ " เขา " ในประโยค 6) ว่า " ตัวแปร"
ซึ่งเรานิยมใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวใหญ่แทนตัวแปรในประโยค เช่น X , Y , Z เป็นต้น
(อาจเป็นตัวอื่นก็ได้) และใช้แทนจำนวน
ตัวอย่างที่ 1 กำหนดประโยค
เขาเป็นนักร้อง
ถ้าเราแทนคำว่า " เขา " ด้วยชื่อบุคคลแล้ว ทำให้ประโยคเป็นจริงชื่อหนึ่ง และอีกชื่อหนึ่ง
ทำให้ประโยคเป็นเท็จ
วิธีทำ 1) แทน " เขา " ด้วย " สมชาย เข็มกัด " จะได้ประโยค
สมชาย เข็มกัด เป็นนักร้อง (ประโยคนี้เป็นจริง)
2) แทน " เขา " ด้วย " ดอม เหตระกูล " จะได้ประโยค
ดอม เหตระกูล เป็นนักร้อง (ประโยคนี้เป็นเท็จ)
ตัวอย่างที่ 2 X + 7 = 16
วิธีทำ 1) แทน " X " ด้วย " 9 " ในประโยคจะได้
9 + 7 = 16 เป็นจริง
2) แทน " X " ด้วย จำนวนที่น้อยกว่า 9 เช่น 1 , 2 , 3 , 4,…, 8 ในประโยค
จะได้ 3 + 7 = 16 เป็นเท็จ ( อาจแทนด้วยจำนวนอื่นๆที่น้อยกว่า 9 จำนวนอื่น
หรือ จำนวนที่มากกว่า 9 ก็จะทำให้ประโยคเป็นเท็จเสมอ )
คำถาม ประโยคต่อไปนี้ เป็นจริง หรือ เป็นเท็จ หรือสรุปไม่ได้ว่าจริง หรือเท็จ
1. 2 + 4 = 4 + 2 ………………….. 4) 7 + 7 = 7 x 3 ………………
2. Y x 8 = 42 …………………. 5 ) 4 x 3 = 3 x 4 ……………..
3. 12 -- 6 > 15 -- 8 …………………

เฉลย กรอบที่ 1 1 ) เป็นจริง 2 ) สรุปไม่ได้เพราะไม่ทราบค่า Y
3 ) เป็นเท็จ 4 ) เป็นเท็จ 5 ) เป็นจริง

กรอบที่ 2
1.2 จำนวนเต็มบวก และศูนย์
จำนวนเต็มบวก หมายถึง จำนวนนับตั้งแต่ 1 และเพิ่มที่ละหนึ่ง เป็นต้นไปไม่สิ้นสุด
ได้แก่ 1 , 2 , 3 , 4 ,… ดังนั้น 1 เป็นจำนวนเต็มบวกที่น้อยที่สุด และเพิ่มขึ้นที่ละหนึ่ง
ดังรูป 1 1+1 2+1 3+1 4+1 5+1 6+1
รูป 1
1 2 3 4 5 6 7
เมื่อกำหนดจำนวนเต็มบวกใดๆ เราสามารถหาจำนวนเต็มบวกที่มีค่ามากกว่า และอยู่ถัดไปได้โดยการบวกด้วย 1 ดังนั้น จึงไม่สามารถหาจำนวนเต็มบวกที่มากที่สุดได้
จำนวนเต็มศูนย์
จำนวนเต็มศูนย์ หมายถึง จำนวนจำนวนหนึ่งที่อยู่ห่างจาก 1 เป็นระยะทาง 1 หน่วย
ซึ่งเป็นจำนวนเต็มจำนวนหนึ่ง เรียกย่อๆว่า " ศูนย์ " และเขียนแทนด้วย " 0 " ดังรูป 1. 2

0 1 รูป 1. 2
สมบัติการบวกและการคูณ
การบวกและการคูณ มีสมบัติดังนี้
ถ้า a เป็นจำนวนใดๆแล้ว 1. a + 0 = 0 + a = a
2. a  0 = 0  a = 0
3. a  1 = 1  a = a
สรุปได้ว่า สมบัติข้อ 1 เมื่อนำ 0 ไปบวกกับจำนวนใดๆแล้ว จะได้จำนวนนั้น ซึ่งเราเรียกว่า
" เอกลักษณ์สำหรับการบวก "
สมบัติข้อ 2 เมื่อนำ 0 ไปคูณกับจำนวนใดๆ จะได้ผลคูณเท่ากับ 0
สมบัติข้อ 3 เมื่อนำ 1 ไปคูณกับจำนวนใดๆ จะได้จำนวนนั้น เราเรียกว่า "เอกลักษณ์การคูณ"
คำถาม
1. 0 เป็นจำนวนเต็มบวก จริง หรือ เท็จ …………………
2. 92 เป็นจำนวนเต็มบวก จริง หรือ เท็จ …………………
3. จำนวนที่แทน X แล้วทำให้ประโยคเป็นจริง 45 + X = 45 ……
4. จำนวนที่แทน Y แล้วทำให้ประโยคเป็นจริง
69  Y = 69 ……………

เฉลย กรอบที่ 2 1 ) จริง 2 ) จริง 3 ) 0 4 ) 1

กรอบที่ 3
สมบัติการบวกและการคูณของจำนวนเต็มบวก
จำนวนเต็มบวก ได้แก่ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , …
สิ่งที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
ก. สมบัติการบวก
1 ) สมบัติปิด
ถ้า a และ b เป็นจำนวนเต็มบวกใดๆ แล้ว a + b เป็นจำนวนเต็มบวก
ตัวอย่าง 7 + 3 = 10 , 8 + 6 = 14
2) สมบัติการสลับที่
ถ้า a และ b เป็นจำนวนเต็มบวกใดๆ แล้ว a + b = b + a
ตัวอย่าง 2 + 6 = 6 + 2 , 21 + 32 = 32 + 21
3) สมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม
ถ้า a และ b เป็นจำนวนเต็มบวกใดๆ แล้ว a + ( b + c ) = ( a + b ) + c
ตัวอย่าง ( 3 + 8 ) + 6 = 3 + ( 8 + 6 )
2 + 4 + 9 = 2 + ( 4 + 9 )
น่าคิด การหาผลลัพธ์ ควรทำในวงเล็บ ( b+ c ) ก่อน แล้วจึงบวกจำนวนที่เหลือ คำตอบจะเท่ากับ
เสมอ หรือเราสามารถ หาคำตอบของจำนวนเต็มบวก ตั้งแต่สามจำนวนขึ้นไปได้โดย ไม่ต้องใส่วงเล็บ
ก็ได้ คำตอบจะเท่ากันเสมอ

คำถาม 1) จำนวนใด ที่แทน X แล้วทำให้ประโยคเป็นจริง
84 + 12 = X + 84 ………………
2) จำนวนใด ที่แทน D แล้วทำให้ประโยคเป็นจริง
34 + ( 10 + 57 ) = ( 34 + D ) + 57 ………………
 เติมตัวจำนวน หรือ ตัวแปรที่ทำให้ประโยคเป็นจริง สำหรับทุกๆค่าของตัวแปร
3) ( A + B ) + Z = ……… + ( B + Z )
4) 8 + ( …….+ ….. ) = ( 8 + W ) + 7
5) K + L + M = K + ( ….. + …… )

เฉลย กรอบที่ 3 1) X = 12 2) D = 10 3) A
4) W + 7 5) L + M
กรอบที่ 4
สมบัติการบวกและการคูณของจำนวนเต็มบวก
จำนวนเต็มบวก ได้แก่ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , …
สิ่งที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
ข. สมบัติการคูณ
1 ) สมบัติปิด
ถ้า a และ b เป็นจำนวนเต็มบวกใดๆ แล้ว a  b เป็นจำนวนเต็มบวก
ตัวอย่าง 8  3 = 24 , 4  9 = 36
2) สมบัติการสลับที่
ถ้า a และ b เป็นจำนวนเต็มบวกใดๆ แล้ว a  b = b  a
ตัวอย่าง 4  7 = 7  4 , 11  10 = 11  10
3) สมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม
ถ้า a และ b เป็นจำนวนเต็มบวกใดๆ แล้ว a  ( b  c ) = ( a  b )  c
ตัวอย่าง ( 3  5 )  9 = 18  9
2  7  9 = 2  ( 7  9 )
นอกเหนือจากสมบัติที่กล่าวมาแล้ว ยังมีสมบัติที่เกี่ยวกับการบวกและการคูณ ได้แก่ " สมบัติการแจกแจง "
สมบัติการแจกแจง
ถ้า a และ b เป็นจำนวนเต็มบวกใดๆ แล้ว
a  ( b + c ) = ( a  b ) + ( a + c )
( b + c )  a = ( b  a ) + ( c  a )
ตัวอย่าง ( 3  5 ) + ( 9  4 ) = 15 + 36
2  (7 + 8 ) = 2  15
 คำถาม จำนวนใดที่แทนตัวแปร แล้วประโยคเป็นจริง
1) 25  U = U  25 ……………………..
2) 7  ( 8 + 10 ) = ( 7  8 ) + ( 7  F ) …………
3) (…….……..)  6 = 10  ( W  ………….)


เฉลยกรอบที่ 4 1) 1 2) 10 3) 10 , W และ 6

กรอบที่ 5
1.3 จำนวนเต็มลบ
จำนวนเต็มลบ ได้แก่ จำนวนเต็มที่น้อยกว่า 0 โดยเริ่มจาก – 1 และลดลงที่ละ 1
ซึ่งได้แก่ --1 , --2 , --3 , --4 , … จำนวนเต็มศูนย์
รูป 1.3-1
-7 --6 --5 --4 --3 --2 --1 0




ให้พิจารณา ระยะทาง ระหว่างจำนวนเต็มลบกับศูนย์ จะพบว่า 1.3
รูป 1.3 -2
-7 --6 --5 --4 --3 --2 --1 0
--1 และ 0 อยู่ห่างกัน 1 หน่วย
-- 2 และ 0 อยู่ห่างกัน 2 หน่วย
-- 3 และ 0 อยู่ห่างกัน 3 หน่วย เป็นต้น
พิจารณาการเปรียบเทียบจำนวนเต็มลบสองจำนวน ดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 b a 0
 จะได้ว่า b < a
ตัวอย่างที่ 2

-7 --6 --5 --4 --3 --2 --1 0
จากเส้นจำนวนจะได้ว่า -- 7 น้อยกว่า --2
เพราะ - 7 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะทาง 7 หน่วย
และ -- 2 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะทาง 2 หน่วย
ดังนั้น -- 7 < 2
คำถาม จงเรียงจำนวนเต็มลบที่น้อยที่สุดไปหาจำนวนเต็มลบที่มากที่สุด
1) --12 , 5 , --2 , --8 , 7 , --23 , 10 ตอบ………
2) --42 , 9 , --20 , --8 , 67 , 11 , 60 ตอบ………
3) จงเขียนจำนวนเต็มลบอีก 4 จำนวน เริ่มจาก –8 และลดลงที่ละ 1 ……

เฉลย กรอบที่ 5 1) --23 , --12 ,--8, --2, 5 , 7 , 10
2) --42 , --20, --8 , 9 , 11 , 60 , 67
3) --9 , --10 , --11 , --12
กรอบที่ 6
1.4 ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็ม
1.4.1 จำนวนตรงข้าม
กำหนด จำนวนเต็มบวก 2 และ จำนวนเต็มลบ –2
จะพบว่าจำนวนทั้งสองอยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะทางเท่ากัน ดังรูป 1.4-1
2 หน่วย 2 หน่วย

--2 0 --2
กรณีนี้ เราเรียก -- 2 ว่าเป็นจำนวนตรงข้ามของ 2
และเรียก 2 ว่าเป็นจำนวนตรงข้ามของ -- 2
โดยทั่วไปอาจกล่าวได้ว่า กำหนดจำนวนเต็มบวก n และ จำนวนเต็มลบ --n
จำนวนตรงข้ามของ n คือ --n
จำนวนตรงข้ามของ --n คือ --n
ตัวอย่าง จำนวนตรงข้ามของ --1 คือ 1 จำนวนตรงข้ามของ 12 คือ --12
จำนวนตรงข้ามของ --5 คือ 5 จำนวนตรงข้ามของ 40 คือ --40
1.4.2 ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็ม
กำหนด จำนวนเต็ม 3 ดังนั้น จำนวนตรงข้ามของ 3 คือ --3 จะได้ว่า
1. 3 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะทาง 3 หน่วย ระยะทางที่ 3 ห่างจาก 0 เรียกว่า ค่าสัมบูรณ์ของ 3
2. –3 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะทาง 3 หน่วย ระยะทางที่ -3 ห่างจาก 0 เรียกว่า ค่าสัมบูรณ์ของ –3
ซึ่งค่าสัมบูรณ์ของ 3 และ ค่าสัมบูรณ์ของ –3 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะทางเท่ากัน
จะได้ว่า ค่าสัมบูรณ์ของ 3 เท่ากับ ค่าสัมบูรณ์ของ –3 นั่นคือ = 3 ( ดังรูป 1.4-2)
3 หน่วย 3 หน่วย
รูป 1.4-2
--3 0 --3
ข้อสรุปที่น่าสนใจ
1. ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็ม n หมายถึง ระยะทางที่ n อยู่ห่างจาก 0
2. ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็ม n เท่ากับ ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนตรงข้ามของ n
คำถาม 1) จำนวนตรงข้ามของ n ที่กำหนดให้ต่อไปนี้ n = 4 , n = --7 , n = 15
n = --38 , n = 112 , n = --50 , n = 65 , n = --94 ………………
2) ค่าสัมบูรณ์ของ --14 …………….. ค่าสัมบูรณ์ของ 25 ……………
ค่าสัมบูรณ์ของ 57 ……………… ค่าสัมบูรณ์ของ 245 ………….
เฉลย กรอบที่ 6 1) --4 , 7 , --15 , 38 , -112 , 50 , --65 , 94
2) 14 , 25 , 57 , 245

กรอบที่ 7
1.5 การบวกจำนวนเต็ม
เราสามารถใช้เส้นจำนวนหาผลบวกของจำนวนเต็มได้ เช่น 4 + 2 = 6
4 หน่วย 2 หน่วย
รูป 1.5
0 1 2 3 4 5 6 7
1.5.1 การบวกระหว่างจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ
ตัวอย่างที่ 1 จงใช้เส้นจำนวนหาผลบวกของ ( --3 ) + ( -5 ) =
5 หน่วย 3 หน่วย

--10 --9 --8 --7 -6 -5 --4 --3 -2 -1 0
ดังนั้น ( --3 ) + ( -5 ) = --8
พิจารณาตามลำดับต่อไปนี้ ในหาผลบวกของ ( --4 ) + ( -7 ) =
1. หาค่าสัมบูรณ์ของ --4 และ –7 ( จะได้ 4 และ 7 )
2. นำค่าสัมบูรณ์ของทั้งสองจำนวนมาบวกกัน (จะได้ 4 + 7 = 11 )
3. หาจำนวนตรงข้ามของจำนวนที่ได้ในข้อ 2 ( จะได้ -- 11 )
4. จำนวนที่ได้ในข้อ 3 จะเป็นคำตอบของ ( --4 ) + ( -7 ) = -- 11
ข้อสรุปได้ว่า
การหาผลบวกระหว่างจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มลบแต่ละจำนวนของบวกกัน แล้วตอบเป็นจำนวนลบ

 จงหาผลบวกในข้องต่อไปนี้
1) ( --4 ) + ( -7 ) + ( -2 )
2) ( --5 ) + ( --8 ) + ( --1 )
3) (--15) + ( --2 ) + ( -10 )
 จงหาจำนวนที่แทน X แล้วทำให้ประโยคเป็นจริง
4) ( --6 ) + ( --9 ) + (--14 ) = X
5) X + ( --5 ) + ( --3 ) = --20
6) ( --5 ) + X + (--17 ) = --26


เฉลย กรอบที่ 7 1) --13 2) --14 3) --27
4) --29 5) --12 6) -- 4

กรอบที่ 8
1.5.2 การบวกจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบ
ตัวอย่างที่ 1 จงใช้เส้นจำนวนหาผลบวกของ ( --6 ) + ( 2 ) =
5 หน่วย
2 หน่วย
--8 --7 --6 --5 -4 -3 --2 -1 0 1 2
ดังนั้น ( --6 ) + ( 2 ) = --4
พิจารณาตามลำดับต่อไปนี้ ในหาผลบวกของ ( --6 ) + ( 2 ) =
1. หาค่าสัมบูรณ์ของ --6 และ 2 ( จะได้ 6 และ 2 )
2. นำค่าสัมบูรณ์ของทั้งสองจำนวนมาหาผลต่าง (จะได้ 6 -- 2 = 4 )
3. คำตอบที่ได้ในข้อ 2 จะมีค่าเท่ากับค่าสัมบูรณ์ของจำนวนที่มากกว่า
( ค่าสัมบูรณ์ของ --6 มากกว่า ค่าสัมบูรณ์ของ 2 ดังนั้นคำตอบคือ -- 4 เป็นจำนวนลบ)
ข้อสรุป
การหาผลบวกระหว่างจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์ ไม่เท่ากัน ให้นำค่าสัมบูรณ์
ของแต่ละจำนวนมาหาผลต่าง แล้วตอบเป็นจำนวนบวก หรือจำนวนลบ ตามจำนวนที่นำมาบวกกัน
ซึ่งค่าสัมบูรณ์มากกว่า
ตัวอย่างที่ 2 จงหาผลบวก 12 + ( --5 )
วิธีทำ ผลต่างของค่าสัมบูรณ์ของ 12 และ ของ --8 เท่ากับ
12 – 8 = 4
เนื่องจากจำนวนบวกมีค่าสัมบูรณ์ของมากกว่าจำนวนลบ ดังนั้น
12 + ( --5 ) = 4 ตอบ
ตัวอย่างที่ 3 จงหาผลบวก ( --25 ) + 9
วิธีทำ ผลต่างของค่าสัมบูรณ์ของ --25 และ ของ 9 เท่ากับ
25 – 9 = 16
เนื่องจาก ค่าสัมบูรณ์ของ --25 มากกว่าค่าสัมบูรณ์ของ 9 ดังนั้น
( --25 ) + 9 = --16 ตอบ
 จงหาผลบวกต่อไปนี้
1) ( --32 ) + 20 2) 125 + ( --250 )
3) ( --48 ) + 33 + 10 4) ( --50 ) + 12 +( --20)

เฉลย กรอบที่ 8 1) --12 2) -125
3) --5 4) --58
กรอบที่ 9

1.6 การลบจำนวนเต็ม
โดยทั่วไปอาจให้ความหมายว่า
ถ้า a และ b เป็นจำนวนเต็ม แล้ว a -- b = a + ( - b )

นั่นคือ ตัวตั้ง -- ตัวลบ = ตัวตั้ง + จำนวนตรงข้ามของตัวลบ

ตัวอย่างที่ 1 จงหาผลบวก ( --9 ) -- 4
วิธีทำ ( --9 ) -- 4 = ( --9 ) + ( --4 )
= -- ( 9 + 4 )
= -- 5 ตอบ
ตัวอย่างที่ 2 จงหาผลบวก [ ( --15 ) -- 10 ] -- ( -- 8 )
วิธีทำ [ ( --15 ) -- 10 ] -- ( --8 ) = [ ( --15 ) + ( -- 10 ) ] -- ( --8 )
= [ -- (15 + 10 ) ] -- ( --8 )
= ( --25 ) -- ( --8 )
= ( --25 ) + 8
= -- ( 25 -- 8 )
= --13 ตอบ
 จงหาผลลบ
1) 16 -- ( 5 ) 3) ( --28 ) + [ ( -- 6) + ( --5 ) ]
2) 27 -- 27 4) ( --21 ) + [ ( -- 16) + ( -- 9 ) ]
 จงเติมคำตอบลงในช่องว่าง
5) ค่าสัมบูรณ์ของ ( 6—10 ) …………….
6) ค่าสัมบูรณ์ของ ( --8 ) -- ( --1 ) …………….
7) จำนวนตรงข้ามของ ( --7 ) -- ( --10 ) …………….
 พิจารณาว่า ประโยคเป็นจริง หรือเท็จ
8) ถ้า a เป็นจำนวนเต็มบวก และ b เป็นจำนวนเต็มลบ แล้ว
a – b เป็นจำนวนเต็มบวก …………….
9) ถ้า a เป็นจำนวนเต็มลบ และ b เป็นจำนวนเต

เฉลยกรอบที่ 9 1) 11 2) 0 3) --39 4) --46 5) 4 6) 7
7) 3 8) จริง 9) จริง
แบบทดสอบหลังเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ค 203
บทที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ตอนที่ 1 คำชี้แจง เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
5. ประโยคใดต่อไปนี้เป็นจริง
ก. 0 ไม่ใช่จำนวนเต็ม ข. 0 เป็นจำนวนเต็มบวก
ค. 0 ไม่ใช่จำนวนนับ ง. จำนวนนับที่มีค่ามากที่สุด คือ 0
6. ประโยคใดต่อไปนี้เป็นเท็จ
ก. 1 เป็นจำนวนนับที่มีค่าน้อยที่สุด ข. – 1 เป็นจำนวนเต็มลบที่มีค่าน้อยที่สุด
ค. 5 + 0 = 5 ง . 0 x 3 = 3 x 0 = 0
7. [ ( 4 + 3 ) – ( --5 ) ] x 0 มีผลลัพธ์เท่ากับข้อใด
ก. 0 ข. 1
ค. 2 ง. 12
8. ข้อใดเรียงจากน้อยไปหามาก
ก. –1, -3 , --5 , --7 ,… ข. 0, --1 , 1 , --2 , 2
ค. 2 , 1 ,0 , -1 , --2 ง. –2 , --1 , 0 ,1 , 2
5. ผลลัพธ์ของ (--2 ) + ( -- 32 ) ได้เท่าใด
ก. – 30 ข. 30
ค. -- 34 ง. 34
6. ผลบวกของ ( --29 ) + 35 ได้เท่าใด
ก. 6 ข. --6
ค. – 64 ง. 64
7. ผลบวกของ ( --79 ) + 21 ได้เท่าใด
ก. --58 ข. -58
ค. – 100 ง. 100
ตอนที่ 2 แสดงวิธีทำเฉพาะข้อ 8 ถึง 9 และหาคำตอบ ข้อ 10 ถึง 14
8. จงหาผลลัพธ์ของ ( --44 ) + (-- 59 )
9. จงหาค่าสัมบูรณ์ของ [ (--4 ) + ( -- 7 ) ] + 5
11. อุณหภูมิที่กรุงเทพมหานคร และที่กรุงเวียนนาเท่ากับ 38 และ --6 องศาเซลเซียสตามลำดับ
อุณหภูมิของทั้งสองแห่งต่างกันกี่องศา
11. ถ้า a + ( --31 ) = 0 แล้ว a มีค่าเท่าใด
12. ถ้า 4 ( m -- 9) = 20 --36 แล้ว m มีค่าเท่าใด
13. ค่าของ P ที่ทำให้ประโยคเป็นจริง P x 1 = 1 เป็นจริงคือ P เท่ากับเท่าใด
14. ถ้า (-- 49 ) x R = 0 แล้ว R เท่ากับเท่าใด

เฉลย
แบบทดสอบก่อนเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ค 203
บทที่ 1 ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ตอนที่ 1
1. ค 2. ข 3. ก 4. ง 5. ค
6. ก 7. ข
ตอนที่ 2 8. จงหาผลลัพธ์ของ ( --44 ) + (-- 59 )
วิธีทำ ( --44 ) + (-- 59 ) = [ (-- 44 ) + ( --59 ) ]
= [ -- ( 44 + 59 ) ]
= --( 103 )
= - 103 ตอบ
9. จงหาค่าสัมบูรณ์ของ [ (--4 ) + ( -- 7 ) ] + 5
วิธีทำ [ (--4 ) + ( -- 7 ) ] + 5 = [ -- ( 4 + 7 ) ] + 5
= -- (11 ) + 5
= -- 6
แต่โจทย์ถามว่าค่าสัมบูรณ์ของ -- 6 คือ 6 เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
10. 44 องศาเซลเซียส
11. 31
12. m = 5
13. 1
14. R = 0
หวังว่านักเรียนคงทำได้ถูกต้องนะค่ะ








บรรณานุกรม
กมล
กมล เอกไทยเจริญ, รศ. คู่มือคณิตศาสตร์ ม.2 เล่มรวม ค 203 - ค 204.
ไฮเอ็ดพับลิซซิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร, 2521.
สสวท. , กระทรวงศึกษาธิการ แบบเรียนคณิตศาสตร์ ม. 2 ค 203 . คุรุสภา,
กรุเทพมหานคร, 2533.
วัชรพงศ์ โกมุทธรรมวิบูลย์และคณะ คณิตศาสตร์ 3 ค 203 . วิสิทธิ์พัฒนา จำกัด,
กรุเทพมหานคร, 2533.



โดย : นาย สุธีร์ วิชาพร, โรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์, วันที่ 7 มิถุนายน 2545