ขมิ้นชัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Curuma Longa Linn.
ชื่อท้องถิ่น
ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น (ภาคใต้) ตายอ
(กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะของพืช
พืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าขมิ้นสีเหลืองเข้มจนสีแสดจัด มีกลิ่นหอม
เฉพาะตัว ใบรูปเรียวยาว ปลายแหลม คล้ายใบพุทธรักษา ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงจาก
เหง้าโดยตรง ดอกสีขาวอมเหลือง มีกลีบประดับสีเขียวอมชมพู ใช้เหง้าปลูก ปลูกได้ทั่วไป
คุณค่าด้านอาหาร
เหง้าขมิ้นชันมีสารอาหารไม่มากนัก มักใช้เป็นเครื่องปรุงรสและสารแต่งสีมากกว่า อาหารหลายอย่างใส่ขมิ้น ทำให้สีและกลิ่นชวนทานขึ้นมาก ชาวอินเดียและชาวใต้ในประเทศไทยนิยมใส่ขมิ้นในอาหารเกือบทุกอย่าง
ส่วนที่ใช้เป็นยา
เหง้าสด
รสและสรรพคุณยาไทย
รสฝาด กลิ่นหอม แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ขับลม แก้ท้องร่วง
ประโยชน์ทางยา
เหง้าขมิ้นชันมีสารสำคัญ คือ น้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) และสารสีเหลืองที่มีอยู่ในขมิ้น ชื่อ เคอร์คูมิน (curcumin) นำน้ำมันระเหยมาทดลอง พบว่า มีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรีย
และเชื้อรา ช่วยขับลม ทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ช่วยเจริญอาหาร เหง้าสดขมิ้นชันใช้เป็นยา
รักษาฝี แผลพุพองและแก้อาการแพ้อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อยภายนอกโดยเอาเหง้ายาวประมาณ
2 นิ้ว ฝนกับน้ำต้มสุกทาบริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ผงขมิ้นโรยทาบริเวณที่มีอาการผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อย และฝี แผลพุพอง
เหง้าขมิ้นยังใช้รักษาอาการ ท้องอืดเฟ้อ ปวดท้อง แน่น จุกเสียด และอาหารไม่ย่อย
โดยล้างขมิ้นให้สะอาด(ไม่ต้องปอกเปลือก)หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัด1-2 วัน บดให้ละเอียด
ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย เก็บในขวดสะอาด กินครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4
ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน บางคนกินขมิ้นแล้วท้องเสีย ให้หยุดยาทันที



โดย : นาง อรพรรณ บุญสังข์, บ้านขามเปี้ย, วันที่ 13 มิถุนายน 2545