ลำต้น


ลำต้นเหนือดิน : หน้าที่พิเศษของลำต้นเหนือดิน

1. ลำต้นเลื้อย (creeping) เป็นลำต้นที่เลื้อยไปตามพื้นดินหรือพื้นน้ำ บริเวณข้อมักมีรากงอกออกมาเพื่อหาอาหารโดยการแทงลงดินและช่วยยึดลำต้นเอาไว้ เช่น ผักบุ้ง ผักแว่น บัวบก
2. ลำต้นไต่พันหลัก (twiner) เป็นลำต้นอ่อนเลื้อยแล้วไต่ขึ้นที่สูง โดยไต่พันหลักเป็นเกลียว เช่น ต้นถั่ว เถาวัลย์ต่าง ๆ
3. ลำต้นเปลี่ยนเป็นมือเกาะ (tendril) เป็นส่วนของลำต้นที่ดัดแปลงไปเป็นมือเกาะ โดยส่วนของมือเกาะจะบิดเป็นเกลียวคล้ายลวดสปริงยืดหยุ่นได้ เช่น บวบ น้ำเต้า ฟักทอง แตงกวา องุ่น พวงชมพู เป็นต้น
4. ลำต้นเปลี่ยนเป็นหนาม (spine) เป็นส่วนของลำต้นที่เปลี่ยนไปเป็นหนามหรือขอเกี่ยว ช่วยในการไต่ขึ้นที่สูงและป้องกันอันตราย เช่น มะนาว มะกรูด เฟื่องฟ้า ไมยราบ เป็นต้น

แหล่งข้อมูล : ประสงค์, จิตเกษม หลำสะอาด.



โดย : นาง ปรียา ชมเชี่ยวชาญ, ศรีปทุมพิทยาคาร, วันที่ 2 กรกฎาคม 2545