ลำต้น


ลำต้นใต้ดิน : ชนิดของลำต้นใต้ดิน

ลำต้นใต้ดิน (underground stem) ลำต้นที่อยู่ใต้ดินดูคล้ายราก สังเคราะห์แสงไม่ได้ มีข้อปล้องและตา ส่วนใหญ่ทำหน้าที่สะสมอาหาร จึงมีลักษณะอวบอ้วน แบ่งเป็นหลายชนิด ได้แก่
1. ไรโซม (rhizome) เป็นลำต้นใต้ดินที่เรียกว่า แง่งหรือเหง้า มักอยู่ขนานกับผิวดิน มีข้อและปล้องสั้น ๆ บริเวณข้อมีใบเกล็ดสีน้ำตาลหุ้ม เช่น ขิง ข่า ขมิ้น พุทธรักษา
2. ทูเบอร์ (tuber) เป็นลำต้นใต้ดินที่อวบอ้วน สั้น ๆ ไม่มีใบเกล็ด บริเวณที่เป็นตาจะมีลักษณะบุ๋มลงไป เช่น มันฝรั่ง
3. บัล์บ (bulb) เป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรงอาจโผล่พ้นดินขึ้นมาบ้าง ส่วนบนมีข้อ ปล้องสั้นมาก มีใบเกล็ดซ้อนกันหลายชั้นหุ้มลำต้นไว้ ส่วนล่างมีรากเป็นกระจุก เช่น หอมหัวใหญ่ หัวหอม กระเทียม พลับพลึง
4. คอร์ม (corm) เป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรง มองเห็นข้อ ปล้องชัดเจน มีใบเกล็ดบริเวณข้อทำหน้าที่หุ้มตาที่จะงอกต่อไป เช่น หัวเผือก แห้ว บัวสวรรค์ ซ่อนกลิ่น

แหล่งข้อมูล : ประสงค์, จิตเกษม หลำสะอาด.




โดย : นาง ปรียา ชมเชี่ยวชาญ, ศรีปทุมพิทยาคาร, วันที่ 2 กรกฎาคม 2545