การจำแนก-การตั้งชื่อสิ่งมีชีวต
การจำแนกและการตั้งชื่อสิ่งมีชีวิต

การจำแนกชนิดของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่นั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีความสะดวกในการค้นหาและเปรียบเทียบสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่ถูกค้นพบนับล้านชนิดในโลก แล้วนักวิทยาศาสตร์เขามีวิธีอย่างไรในการจำแนก?

เมื่อเราจะกล่าวถึงเรื่องการจำแนกและการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตนั้น เราต้องมารู้จักคำว่า "อนุกรมวิธาน" เสียก่อน อนุกรมวิธาน (Taxonomy) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องการจำแนกสิ่งมีชีวิต การกำหนดชื่อสากลของสิ่งมีชีวิต และการตรวจสอบสิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบ สำหรับนักอนุกรมวิธาน เราเรียกว่า Taxonomist
- Classification - การจำแนกออกเป็นหมู่
- Nomenclature - การกำหนดชื่อสากลของสิ่งมีชีวิต
- Identification - การตรวจสอบชื่อสิ่งมีชีวิต

Classification - เกณฑ์ที่ใช้ในจำแนก
1. เปรียบเทียบโครงสร้าง - เช่น ระยางค์ของสิ่งมีชีวิต
- Homologous strutrue = มีลักษณะที่มาจากแหล่งกำเนิดเหมือนกัน เช่น แขนคน กับ ปีกนก ซึ่งเป็นอวัยวะที่ยื่นออกมาจากกระดูสันหลังเหมือนกัน
- Analogous strutrue = มีลักษณะที่มาจากแหล่งกำเนิดไม่เหมือนกัน เช่น แขนคน กับ ปีกผีเสื้อ (ผีเสื้อไม่มีกระดูกสันหลัง)
2. ตัวอ่อน (Embryo) - เช่น ช่องเหงือก ที่สิ่งมีชีวิตเหลือเอาไว้
3. ซากดึกดำบรรพ์ (Fossil)
4. สรีรวิทยา - การทำงานภายใน หรือ สันฐานวิทยา - การทำงานภายนอก
5. การเปรียบเทียบกรดอะมิโน
6. หลักฐานทางสรีรวิทยา - เช่น ถ้าหากเอาเลือดสิ่งมีชีวิตสองชนิดมาผสมกัน แล้วมาทำให้ตกตะกอน หากตกตะกอนมาก ก็มีความใกล้ชิดของสิ่งมีชีวิตมาก หากตกตะกอนน้อย ก็มีความใกล้ชิดของสิ่งมีชีวิตนั้นน้อย
7. หลักฐานทางคณิตศาสตร์

การจัดหมวดหมู่
การจัดหมวดหมู่ก็คือการแยกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหลายๆ กลุ่มโดยค่อยๆ แยกออกตามความใกล้เคียงกัน และเพิ่มเงื่อนไขการแบ่งออกไปเรื่อยๆ โดยมีลำดับดังนี้

kingdom -> phylum (สัตว์) / division (พืช) -> class -> order -> family -> genus -> species


Nomenclature - การกำหนดชื่อสากลของสิ่งมีชีวิต
1. ชื่อพื้นเมือง - เรียกตามท้องถิ่น
2. ชื่อสามัญ (Common name) - เป็นชื่อในภาษาอังกฤษ
3. ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) - ชื่อสากล
เช่น ในท้องถิ่นเรียกว่าปลาช่อนอะเมซอน ซึ่งเป็นชื่อพื้นเมือง
ชื่อสามัญเรียกว่า Giant Arapaima
ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Arapaima gigas

หลักในการตั้งชื่อสากลสิ่งมีชีวิต
ใช้การตั้งตามหลัก Binomial System ของ คาโรลัส ลินเนียส
- (ICZN) Zoological Nomenclature - หลักในการตั้งชื่อสัตว์
- (ICBN) Botanical Nomenclature - หลักในการตั้งชื่อพืช

Binomial System แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ
- ส่วนของชื่อสกุล (Genus) - Generic name
- ส่วนของชื่อสปีชีส์ (Species) - Specific name (คำคุณศัพท์, สมญา)

กฏการตั้งชื่อ
1. ชื่อพืชและสัตว์ต้องแยกกันอย่างชัดเจน
2. มีชื่อที่ถูกต้องเพียงชื่อเดียวเท่านั้น
3. เป็นภาษาลาติน (เนื่องจากว่าภาษาลาตินเป็นภาษาที่ตายแล้ว นั่นหมายถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของคำ ทำให้มีความมั่นคงไม่ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา)
4. การเขียนหรือพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์ ต้องต่างจากตัวอื่น คือ ตัวเอน, ตัวหนา, ขีดเส้นใต้ เช่น Homo sapiens (คน)
5. จะใช้ชื่อ Genus หรือ species ซ้ำกันไม่ได้
6. ประกอบด้วยคำ 2 คำเสมอ คือ
- ในส่วนคำแรกจะเป็น ชื่อสกุล (Genus) - เป็นตัวพิมพ์ ตัวอักษรแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ เป็นภาษาลาติน
- ในส่วนคำหลังจะเป็น ชื่อสปีชีส์ (Species) - เป็นตัวพิมพ์เล็กหมด เป็นภาษาลาติน เป็นคนเดียวหรือคำผสม
* หมายเหตุ * ในส่วนของชื่อสปีชีส์ ถ้าหากลงท้ายด้วย spp. หมายถึง มีอยู่หลาย species แต่ถ้าหากลงท้ายด้วย sp. หมายถึง มีอยู่ species เดียว
7. ชื่อผู้ตั้ง นำด้วยตัวใหญ่ ไว้ด้านหลัง เช่น Carirosquilla thailandensis Naiyanetr, 1992
Carirosquilla thailandensis คือ Species ของสิ่งมีชีวิต
Carirosquilla คือส่วนของ Genus
thailandensis คือส่วนของ specific epithet
Naiyanetr คือชื่อผู้ตั้ง
1992 คือปีที่ค้นพบ

หลักการตั้ง
1. ตั้งตามสถานที่พบ
2. ตั้งเป็นเกียรติให้บุคคลที่นับถือ เช่น Thaiphusa sirikit
3. ตั้งเป็นเกียรติให้คนที่พบ
4. ตั้งตามขนาดตัวอย่าง เช่น Pangasianodon gigas (ปลาบึก) (gigas = ใหญ่)
5. ตั้งตามลักษณะ เช่น Podoptamus rigil (ปู) (rigil = ยาม)




แหล่งอ้างอิง : www.viboon.com

โดย : นาง มนัสนันท์ เหิรอดิศัย, โรงเรียนวัดนาคนิมิตร, วันที่ 28 กรกฎาคม 2545