มลพิษทางน้ำ

มลพิษทางน้ำ

ความหมายของมลพิษน้ำ

      น้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ หรือพืช เมื่อมีสารเจือปนในน้ำก็ย่อมกล่าวได้ว่า น้ำนั้นเริ่มมีมลพิษแล้ว เมื่อสิ่งมีชีวิตใช้เข้าไปย่อมส่งผลให้เป็นอันตรายสะสมอยู่ ถ้าสะสมปริมาณมาก ๆ เข้าอาจทำให้เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตก็เป็นได้

สาเหตุการเกิดมลพิษน้ำ

  1. น้ำเสียอันเกิดจากการซักล้าง เช่น สารจากผงซักฟอก
  2. น้ำเสียอันเกิดจากการทิ้งขยะมูลฝอย
  3. น้ำเสียอันเกิดจากกระบวนการต่าง ๆ ของโรงงานอุตสาหกรรม

แหล่งที่ทำให้เกิดมลพิษน้ำ

  1. แหล่งที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่มาจากการซักล้าง จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่ฐานะและอุปนิสัยของผู้คน


 สาเหตุการเกิดน้ำเสียอันเนื่องมาจากการซักล้าง

   สาเหตุการเกิดน้ำเสียอันเนื่องมาจากโรงงานอุตสาหกรรม

น้ำที่เกิดจากการซักล้างมักมีผงซักฟอกปนอยู่มาก ซึ่งในผงซักฟอกมีสารฟอสเฟตเป็นส่วนผสมอยู่ สารนี้สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังได้ ถ้ามีการสะสมเป็นปริมาณมากก็เกิดอันตรายได้เช่นกัน2.  โรงงานอุตสาหกรรม สารเคมีส่วนใหญ่ถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ เป็นเหตุให้แหล่งน้ำเสื่อมสภาพ สามารถแยกประเภทอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำได้ดังนี้

  • อุตสาหกรรมอาหาร น้ำทิ้งมักมีสารอินทรีย์สูงมากทำให้ O2 น้อยลง
  • อุตสาหกรรมเส้นใย ของเสียเกิดจากสารเจือปนที่มีอยู่ในเส้นใย
  • อุตสาหกรรมกระดาษ น้ำทิ้งของอุตสาหกรรมประเภทนี้มักส่งกลิ่นเหม็น สีที่ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำจะสกัดกั้นการสังเคราะห์แสงของพืช

 

 

  • อุตสาหกรรมปิโตรเลียม น้ำทิ้งมีสารประเภทไฮโดรคาร์บอน กรด
  • อุตสาหกรรมเคมี น้ำทิ้งจะเป็นพวกกรดและด่าง ( เบส )
  • อุตสาหกรรมยางและพลาสติก น้ำทิ้งจะมีค่า BOD สูง
  • อุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น น้ำทิ้งจากโรงงานฟอกหนังมีฤทธิ์เป็นด่าง

หลักเกณฑ์การวัดคุณภาพของน้ำ

            ในน้ำปกติทั่วไปจะมีปริมาณ O2 ละลายอยู่ปริมาณ 8 มิลลิกรัม / ลิตร หรือ 8 ppm. เรานิยมเรียกปริมาณ O2 ที่ละลายในน้ำนี้ว่า ค่า DO ถ้าวัดค่า DO ได้ต่ำกว่า3 ppm.ถือว่าเป็นน้ำเสีย    สำหรับค่า pH นั้น องค์การอนามัยโลกได้กำหนดว่าควรมีค่า 5 –9 จึงจะเหมาะกับการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ถ้ามีค่ามากหรือน้อยกว่านั้นอาจเกิดอันตรายต่อสัตว์และพืชน้ำได้

           นอกจากนี้สามารถวัดได้ด้วยค่า BOD คือ ปริมาณของ O2 ที่จุลินทรีย์ต้องการในการย่อยอินทรียสารในน้ำ ถ้าค่า BOD สูงกว่า 100 ppm. แสดงว่าน้ำเสีย

วิธีการกำจัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมทั่ว ๆ ไป

    1. นำตะแกรงมากรองเศษขยะออก แล้วผ่านไปสู่ถังกลม เพื่อให้ตกตะกอนแล้วนำตะกอนที่ได้ไปเผา
    2. ให้แบคทีเรียย่อยอินทรียสาร ซึ่งช่วยให้ย่อยดีและเร็วขึ้น โดยการพ่นฟองอากาศเข้าไป
    3. นำน้ำเสียไปตกตะกอนที่ถังกลมอีกครั้ง
    4. เติมสารเคมี เช่น โซดาไฟ เพื่อให้ฟอสเฟตรวมตัวและตกตะกอน เติมเบสเพื่อลดสภาพกรด และใช้คาร์บอนดูดกลิ่น
    5. น้ำจะผ่านลงตามช่องที่มีตะแกรงเป็นชั้น ๆ ทำให้แอมโมเนียออกไปในรูปของก๊าซได้ โดยอาศัยพัดลมเป่าทางปล่อง
    6.  เผาตะกอนจะได้ CO2 นำเติมในน้ำช่วยลดความเป็นด่าง ( เบส )
    7. กรองอนุภาคต่าง ๆ โดนผ่านหม้อกรองที่ใช้ หิน กรวด ทราย
    8. เติมคลอรีนลงไป เพื่อฆ่าแบคทีเรียที่ตกค้าง จะได้น้ำที่สามารถดื่มได้

    แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย

      1. ควบคุมไม่ให้มีการทิ้งขยะมูลฝอยลงแหล่งน้ำ
      2. รีไซเคิลขยะมูลฝอย
      3. ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้าช่วยในการบำบัดน้ำเสีย

      คุณภาพของแหล่งน้ำในโรงเรียนพนัสพิทยาคาร

            เมื่อทำการสำรวจบริเวณสระน้ำหลังอาคารเกษตร เมื่อ วันที่ 6 กรกฎาคม 2545 ปรากฏว่า น้ำนั้นมีค่า pH = 6 ซึ่งค่อนข้างเป็นกรดแต่ไม่มากนักเมื่อเปรียบกับเกณฑ์มาตรฐานยังถือว่าเหมาะแก่การดำรงชีวิตของสัตว์น้ำอยู่ สภาพน้ำค่อนข้างขุ่นถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปอาจส่งผลต่อการเจริญและสังเคราะห์แสงของพืชได้ อุณหภูมิที่วัดได้คือ 30 ° c จึงสามารถสรุปได้ว่า แหล่งน้ำนี้ยังคงเป็นน้ำที่ดี มีคุณภาพอยู่ และถือว่าเหมาะแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไปอีกด้วย

       

       

      +++++++++++++++++

       

       

       


      ที่มา : หนังสือชีววิทยา ม. 4 เล่ม 1 ว 441, หนังสือการอบรมเยาวชนอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม, www.school.net.th/library/snet 6/envi 3/subwater 1/water.htm
      [ถัดไป>>] 

      โดย : นางสาว นลินี สิทธิพงศ์พิทยา, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 13 กันยายน 2545