สิ่งแวดล้อมทางทะเล

สิ่งแวดล้อมทางทะเล

ความสำคัญ

  • เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อระบบนิเวศ

สภาพแวดล้อมของทะเล มีผลทำให้สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของทะเลดังนี้

    • ทะเลและมหาสมุทรมีอาณาเขตอันกว้างใหญ่ไพศาล และติดต่อกันตลอด ทำให้สิ่งมีชีวิตในแต่ละแห่งไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิ ระดับความเค็ม และความลึก
    • ความเค็มเกิดจากการสลายตัวอยู่ในรูปของอิออน(Ion)ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอิออนของโซเดียม(Na)และอิออนของคลอไรด์(Cl)ซึ่งสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ในทะเลมีการปรับตัวโดยการปรับสภาพให้มีความเข้มข้นในร่างกายต่ำกว่าภายนอกโดยใช้วิธีการขับเกลือแร่ออกมามากๆ
    • กระแสน้ำในมหาสมุทรมีการหมุนเวียนเชื่อมต่อกัน กระแสน้ำที่เคล่อนที่จากส่วนลึกจะพาเอาแร่ธาตุที่อยู่ก้นทะเลขึ้นมาสู่ผิวน้ำทำให้แพลงตอนพืชได้รับอาหารอุดมสมบูรณ์
    • ทะเลมีคลื่นและนอกจากนั้นทะเลยังมีปรากฎการณ์สำคัญที่เรียกว่าน้ำขึ้น น้ำลง ซึ่งมีผลมาจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ คลื่นเป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดจากกระแสลม ซึ่งเหตุการณ์ทั้งสองนี้มีผลกระทบอย่างมากต่อการดำรงชีวิตบริเวณชายฝั่ง
    • ทะเลมีธาตุอาหารจำกัดซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะเกลือแร่ที่เป็นธาตุอาหารที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตไม่เพียงพอ เหตุนี้จึงเป็นตัวการจำกัดประชากรในท้องทะเล

การแบ่งเขตของทะเล

การแบ่งเขตของทะเลมีหลายวิธี คือ

การใช้ความลาดชันของทะเลเป็นเกณฑ์

1.1 เขตไหล่ทวีป (Continental shelf) เป็นฯบริเวณชายฝั่ง ซึ่งลาดชันลงไปถึงระดับความลึกประมาณ 100 เมตร บริเวณนี้ประกอบด้วย เขตน้ำขึ้น น้ำลง (Littoral zone) และเขตชายฝั่ง(neritic zone)

1.2 เขตลาดทวีป (continental slope) เป็นบริเวณที่มีความลึกเพิ่มขึ้นอย่างมาก มีความลึกตั้งแต่ 1000-4000 เมตร

1.3 อะบิสซัล (Abyssal) เป็นเขตทีมีความลึกตั้งแต่ 4000 เมตรลงไป ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและมีการทับถมของตะกอน

การใช้การส่องผ่านของแสงเป็นเกณฑ์

2.1 เขตที่แสงส่องถึง (photic zone) เป็นเขตที่ลึกจากผิวน้ำลงไปประมาณ 500-1000 เมตร แบ่งออกเป็น 2 เขตย่อย คือ

2.1.1 เขตที่มีแสงเข้ม (euphotic zone) เป็นบริเวณที่มีแสงเพียงพอต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง มีความลึกประมาณ 100-200 เมตร แพลงตอนพืชและสาหร่ายทะเลเจริญได้ดี

2.2.2 เขตแสงสลัว (dysphotic zone) อยู่ถัดจากเขตแสงเข้มลงไป แสงที่ส่องลงไปถึง ส่วนใหญ่เป็นแสงคลื่นสั้น ไม่เหมาะต่อการดำรงชีวิตของพวกผู้ผลิต

2.2 เขตที่แสงส่องไม่ถึง (aphotic zone) อยู่ถัดจากเขตแสงสีสลัวลงไป จะมืดทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่มีผู้ผลิตอาศัยอยู่เลย


โดย : นางสาว นมิตา เต๊กสงวน, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 18 กันยายน 2545