ฝนดาวตกลีโอนิค


ฝนดาวตกลีโอนิค (Leonids Meteors shower)
เกิดขึ้นช่วงประมาณวันที่ 17-18 พฤศจิกายน ทุกปี มีประมาณ 30-40 ดวงต่อชั่วโมง เกิดขึ้นจากฝุ่นผงของดาวหาง 55P/Temple-Tuttle มีคาบการโคจรทุกๆ 33 ปี มีบันทึกการเข้ามาเยือนของดาวหางครั้งแรกเมื่อปี คศ.1366 โดยทุกๆรอบ 33 ปี ดาวหางดวงนี้จะมาเพิ่มฝุ่นผงให้กับธารฝุ่นมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ปริมาณของฝนดาวตก เพิ่มขึ้นทุกๆ 33 ปี
ประวัติความเป็นมาของฝนดาวตกลีโอนิด
ฝนดาวตกลีโอนิคมีบันทึกการเห็นครั้งแรกตั้งแต่ ปี คศ.902 โดยนักดาราศาสตร์ชาวจีน เรียกว่า "Stars fell like rain" และก็มีรายงานอีกหลายครั้งนับตั้งแต่นั้นมา เช่น ปี คศ.1002 เรียก "Scores of small stars fell" จวบจนกระทั้งปัจจุบัน สามารถเห็นได้ทางยุโรปและอเมริกาใต้ ในปี 1799 และในปี 1832 ระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน สังเกตเห็นพายุฝนดาวตกที่ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์และรัสเซีย แต่ในปี 1933 ฝนดาวตกมีไม่มากนักเนื่องจากสภาพอากาศที่เลวร้าย
ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 1966 หลังการมาเยือนของดาวหาง Temple-Tuttle ในปี 1965 มีอัตราฝนดาวตก มากถึง 40 ดวงต่อวินาที ทำให้ฝนดาวตกลีโอนิด มีชื่อเสียงมาก แต่เมื่อปี คศ. 1998 (พศ.2541) การเยือนครั้งล่าสุดของดาวหาง Temple-Tuttle ซึ่งนักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่า จะทำให้เกิดฝนดาวมากขึ้น
ฝนดาวตกลีโอนิค มีจุด radiant อยู่บริเวณส่วนหัวของกลุ่มดาวสิงโต (ที่เป็นรูปเคียว) โดยในวันที่ 17-18 พย. จุด radiant จะเริ่มขึ้นจากขอบฟ้า และอยู่สูงจากขอบฟ้าให้สังเกตเห็นได้ราว 03.00 น ทางฟ้าด้านทิศตะวันออก
ฝนดาวตกลีโอนิค ปี พศ.2544
ฝนดาวตกลีโอนิคในปีนี้ จะเกิดขึ้นในคืนวันอาทิตย์ที่ 18 พย.ต่อเนื่องถึงเช้าวันจันทร์ที่ 19 พย. 2544 โดยมีคาดการณ์ว่า จะมีช่วงสูงสุดช่วงเวลา 01.19 น.ของวันที่ 19 พย ตามเวลาในประเทศไทย และในวันดังกล่าวตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ ดวงจันทร์ยังไม่ขึ้นขอบฟ้า ทำให้ไม่มีแสงจันทร์มารบกวน
การทำนายฝนดาวตกลีโอนิคปี พศ.2544
ข้อมูลจากวารสาร sky&telescope เดือนพฤศจิกายน บอกว่าปีนี้ มีการคาดการณ์ช่วงเวลาของฝนดาวตก ลีโอนิคจาก 3 ทีมด้วยกันคือ
1.David Asher จากหอดูดาว Armagh ใน Ireland และ Robert McNaught จาก siding Spring observatory
2.Esko Lyytinen จากฟินแลนด์ และ Tom Vanflandern จาก Meta Research ในวอชิงตันดีซี
3.Peter Brown จากมหาวิทยาลัย western ontario ร่วมกับ William Cooke จากนาซ่า

โดยทั้ง 3 ทีมได้คำนวนโดยคำนึงถึงผลกระทบจากฝุ่นผงของดาวหาง ที่มาสะสมในช่วงปีต่างๆ เช่น ปี 1633,1666,1699,1766,1799 และ 1866 แล้วนำมา plot กราฟ ดังรูปข้างบน จะเห็นว่า ช่วง Peak ของฝนดาวตกจะมีอยู่ 2 ช่วง โดยผลการคำนวนของทีม Asher และ Lyytinen มีช่วงเวลาใกล้เคียงกันและมีค่า Peak สูงมาก คือช่วงแรก 10h UT Nov. 18 หรือตรงกับเวลา 17.00 น.วันที่ 18 พย.ในประเทศไทย อยู่ที่อัตรา 2,000-3,000 ดวงต่อชั่วโมง (ZHR) กับช่วงที่สองเวลา 17.30h-18.30h UT Nov.18หรือ 00.30-01.30 น. วันที่ 19 พย.ในประเทศไทย โดยมีอัตราสูงมากถึง 15,000 ดวงต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับของ Brown แต่มีอัตราที่ต่ำกว่า
สำหรับในประเทศไทย เราจะได้รับผลดีจากช่วง peak ช่วงที่สอง เพราะเป็นเวลาใกล้เคียงกับช่วงที่จุด radiant เริ่มอยู่สูงจากขอบฟ้าด้านทิศตะวันออก และมีการคาดการณ์ว่าจะมีอัตรามากที่สุดด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าติดตาม...



โดย : นาย คงคา แจ้งจบ, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 8 ธันวาคม 2544