บางเรื่องเกี่ยวกับเสียง

บางเรื่องเกี่ยวกับเสียง

มนุษย์คุ้นเคยกับเสียงทั้งที่ทำให้เกิดขึ้น และที่เกิดตามธรรมชาติ เช่น เสียงสัญญาณ เสียงพูดคุย เสียงดนตรี เสียงรถ เสียงร้องของสัตว์ เสียงน้ำตก และอื่น ๆ
เสียงสามารถสะท้อนจากตัวสะท้อน ในห้องโถงขนาดใหญ่ เราอาจได้ยินเสียงสะท้อนหรือเสียงก้อง ได้ยินเสียงดังหรือค่อยในบางตำแหน่ง ได้ยินเสียงทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางได้โดยไม่เห็นแหล่งกำเนิด บางครั้งเห็นฟ้าแลบแต่ไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง การที่เสียงแสดงสมบัติการแทรกสอด และการเลี้ยวเบนทำให้เราทราบว่าเสียงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง
ตัวอย่างการคำนวณเรื่องเสียง
1.อัตราเร็วเสียง
เสียงมีสมบัติเป็นคลื่น ดังนั้นอัตราเร็วของเสียงจึงหาได้จากผลคูณระหว่างความถี่กับความยาวคลื่น
ตัวอย่าง คลื่นเสียงเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 340 m/s ในอากาศ และมีความถี่ 100 Hz จงหาระยะห่างจากส่วนอัดถึงส่วนขยายที่ใกล้กันที่สุด
แนวคิด ระยะจากส่วนอัดถึงส่วนขยายที่ใกล้กันที่สุดคือครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่น
จากความสัมพันธ์ อัตราเร็วเสียง = ความถึ่ x ความยาวคลื่น
แทนค่าได้ 340 = 100 x ความยาวคลื่น
จะได้ความยาวคลื่นเท่ากับ 340/100 เท่ากับ 3.4 เมตร ดังนั้น ความยาวคลื่น/2 มีค่าเท่ากับ 1.7 เมตร ตอบ
คำถามน่าคิด ทำไมมองเห็นฟ้าแลบแล้วไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง
ตอบ เพราะในตอนกลางวันอุณหภูมิของอากาศบริเวณใกล้พื้นดินสูงกว่าตอนบน เสียงฟ้าร้องซึ่งเคลื่อนที่จากอากาศตอนบนเข้าสู่อากาศตอนล่างใกล้พื้นดินจะหักเหทีละน้อยโดยที่มุมหักเหโตกว่ามุมตกกระทบ เมื่อมุมตกกระทบโตกว่ามุมวิกฤต เสียงจะสะท้อนกลับขึ้นไปในตอนบน เราจึงไม่ได้ยินเสียง
หนังสืออ้างอิง ฟิสิกส์ เล่ม 4 ว.024 scholarship physics สำหรับชั้น ม.5 ตรงตามหลักสูตรใหม่ ของ อาจารย์สถาพร ทัพพะกุล และ อาจารย์ บรรพต ขุนบรรเทา อาจารย์ฟิสิกส์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา


โดย : นาย จิรวัฒน์ แซ่ตัน, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 13 ธันวาคม 2544