ดอกไม้แสนสวย(องค์ประกอบ)

ดอกไม้แสนสวย(องค์ประกอบ)
1.กลีบเลี้ยง(sepal) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุด มักมีสีเขียว มีหลายกลีบแยกกันหรือติดกันขึ้นอยู่กับชนิดของดอก ถ้ากลีบเลี้ยงแยกกัน เรียกว่า Aposepalous หรือ polysepalous ถ้าติดกันเรียกว่า Gamosepalous หรือ Synsepalous วงของกลีบเลี้ยงจะเรียกว่าแคลิกซ์ ( Calyx )
กลีบเลี้ยงทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับดอกตูม ช่วยลดการสูญเสียน้ำ ความร้อน หนาว และแมลงต่าง ๆ
2.กลับดอก(petal) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้าไป มักมีสีสันต่าง ๆ บางทีก็มีกลิ่นหอม และตรงโคนกลีบดอกมักมีต่อมน้ำต้อยหรือต่อมน้ำหวานด้วย เพื่อล่อแมลงมาผสมเกสร สีสันของกลีบดอกเกิดจากรงควัตถุหล่ายอย่างเช่น anthocyanin ทำให้กลีบดอกมีสีแดง น้ำเงิน ม่วง โดยรงควัตถุอยู่ใน sap vascuole หรือ anthoxanthin ทำให้กลีบดอกมีสีขาว ลบะลายอยู่ใน sap vacuole และ carotenoids ทำให้กลีบดอกมีสีเหลืองและสีแสด ซึ่งบรรจุถอยู่ในเม็ดสี ( plastid) ชนิด chromoplast ทำนองเดียวกัน กลีบของดอกไม้อาจมีหลายกลีบแยกกันหรือเชื่อมติดกันก็ได้ ถ้าแยกกัน เช่น กลีบดอกของกุหลาบ ดอกบัว ชบา จำปี ลั่นทม จะเรียกว่า apopetalous หรือ polypetalous แต่ถ้าเชื่อมติดกันไม่ว่าจะเชื่อมตรงโคนหรือทั้งกลีบก็ตาม เช่น ดอกผักบุ้ง มะเขือ เข็ม ลำโพง ฯลฯ จะเรียกว่า gemopetalous หรือ sympetalous วงของกลีบดอกจะเรียกว่า corolla สำหรับกลีบเลี้ยงกับกลีบดอกนี้ เป็นส่วสนที่หุ้มอยู่รอบนอกของส่วน essential organ จึงได้ชื่อรวม ๆ ว่า perianth หรือ perigone ซึ่งในดอกไม้บางชนิด อาจมี perianth ที่แยกไม่ออกว่าเป็นกลีบเลี้ยงหรือกลีบดอก





3.เกสรตัวผู้( stamen ) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้ามาข้างใน ทำหน้าที่สร้างละอองเรณูและเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ จึงจัดว่าเป็นส่วนสำคัญของดอก( essential organ ) เกสรตัวผู้จะเรียงเป็นชั้นหรือวงเรียกว่า Androecium
เกสรตัวผู้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ก้านเกสรตัวผู้(filament) และอับละอองเรณู( anther) ซึ่งภายในแบ่งเป็นถุงเล็กๆ ยาวๆ 4 ถุง เรียกว่าถุง อับละอองเรณู( pollen sac ) ซึ่งบรรจุละอองเรณู(pollen หรือ Pollen grain ) ไว้มากมาย
เกสรตัวผู้ของดอกไม้บางชนิด อาจเป็ฌนหมันและเปลี่ยนรูปร่างไปคล้ายกับกลีบดอก ซึ่งเรียกว่า petaloid staminode เช่น ดอกพุทธรักษา ซึ่งแทบไม่มีก้านดอกเลย มีรังไข่สีเขียวค่อนข้างป่อิง มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 3 กลีบ ถัดจากกลีบเลี้ยงขึ้นไปเป็นกลีบดอกที่แท้จริง มีลักษณะยาวๆ แหลมๆ สีเหลืองอ่อน และถัดเข้าไปอีกจะพบแผ่นกว้างใหญ่สีสวยงามมาก 3 แผ่น ส่วนนี้คือ petaloid staminode
4.เกสรตัวเมีย(pistil) เป็นส่วนที่อยู่ในสุดทำหน้าที่สีร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย จึงเป็นส่วนจำเป็นของดอก( essential organ) อาจมีอันเดียวหกรือหลายอัน ติดกันหรือแยกกัน รวมเป็นวงหรือเป็นชั้น เรียกว่า Gynaecium โดยเกสรตัวเมียแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ รังไข่( ovary) เป็นส่วนพองโต เป็นกระพุ้ง ภายในรังไข่มีโอวุล(ovule) 1 อัน หรือมากกว่า และในโอวุลจะมีถุงเอ็มบริโอ( embryo sac ) ซึ่งบรรจุไข่( egg) เอาไว้ ถัดจากรังไข่ขึ้นไปมักเป็นเส้นเรียวเล็ก เรียกว่า ก้านเกสรตัวเมีย(style) และส่วนปลายของก้านเกสรตัวเมียจะพองโตออก เป็นปุ่มมีขนและน้ำดหนียว ๆ สำหรับดักจับละอองเรณู เรียกว่า ยอดเกสรตัวเมีย ( stigma ) โดยอาจมีปุ่มเดียวหรือหลายปุ่มก็ได้
จาก Analytical Biology ชีววิทยา ม. 5 เล่ม 4 ว 043 ของ อ.สมาน แก้วไวยุทธ อาจารย์ชีววิทยา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สำนักพิมพ์ Hi-ed Publishing






โดย : นาย จิรวัฒน์ แซ่ตัน, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 15 ธันวาคม 2544