สำรวจโลกต่างสุริยะจักรวาล

สำรวจโลกต่างสุริยะจักรวาล ทั้งร้อนทั้งอากาสเป็นควันพิษ มนุษย์หูตายาวสอดเห็นถึงบรรยากาศของดาวเคราะห์ต่างสุริยจักรวาลอยู่ไกลถึง 150 ปีแสงได้เป็นครั้งแรก องค์การอวกาศสหรัฐฯแจ้งว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้สืบรู้ความรับของบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้กับดาวฤกษ์ คล้ายกับดวงอาทิตย์ของเรามีชื่อรหัสว่า " H D 209458 " ว่ามีบรรยากาศเต็มไปด้วยธาตุโซเดียม นับเป็นความก้าวหน้าขั้นหนึ่ง ในการสำรวจหาดาวเคราะห์เพื่อจะเสาะแสวงหาดาวเคราะห์ที่มีสภาพเหมือนกับโลก ที่อาจจะมีชีวิตดำรงอยู่
ดาวเคราะห์ต่างสุริยะจักรวาลดวงนี้ มีมวลโตประมาณ 70% ของดาวพฤหัสบดี และมากกว่าโลก 220 เท่า โคจรอยู่กับชิด ติดกับดาวฤกษ์ ระยะห่างเพียง 6,400,000 กม. มีอุณหภูมิสูงถึง 1,100 องศา เซลเซียสจนไม่อาจจะอยู่อาศัยกันได้ "เราเห็นแต่มีโซเดียมปนอยู่ตั้งครึ่ง" นักดาราศาสตร์กล่าว "มันไม่เหมาะกับมีชีวิตอยู่ อากาศก็ขุ่นข้น "
นักดาราศาสตร์แห่งสถาบันคาร์เนกี้ ยกย่องว่า การค้นพบหนนี้เป็นเรื่องสำคัญ เชื่อว่าต่อไปอาจจะไปพบบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงอื่น ซึ่งประกอบด้วย คาร์บอนไดออกไซค์ ไอน้ำ ก๊าซโซเดียม และมีเทน เข้าบ้าง ถ้าหากได้พบเช่นนั้น ก็เชื่อได้ว่า มันเป็นโลกที่สามารถอยู่ได้

จาก หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ 30 พ.ย. 44


โดย : นางสาว สายฝน มะโนขันธ์, รร.ขจรศึกษา, วันที่ 17 ธันวาคม 2544