กฎหมายที่ประชาชนควรรู้

กฎหมายที่ประชาชนควรรู้

กฎหมาย คือกฎข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติ ซึ่งผู้มีอำนาจในประเทศได้บัญญัติขึ้น และบังคับให้ผู้ที่อยู่ในสังกัดของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม
กฎหมายเกี่ยวกับชื่อบุคคล ผู้มีสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุล ตามปกติเมื่อมีการแจ้งเกิด เจ้าบ้านหรือแม่จะต้องแจ้งชื่อของเด็กกับนายทะเบียน ส่วนบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วสามารถขอเปลี่ยนชื่อได้เอง การตั้งชื่อสกุล โดยยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน นายทะเบียนท้องที่ก็จะส่งไปตามลำดับจนได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง แล้วนายทะเบียนท้องที่ก็จะออกหนังสือสำคัญแสดงการรับจดทะเบียนชื่อสกุลให้
กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ที่จะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนได้แก่ ผู้ที่มีสัญชาติไทย มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ และมีภูมิลำเนา หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของท้องที่นั้นๆ
กฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร มีอยู่ด้วย 4 ประเภทคือ
1. ทหารกองเกิน ชายไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ และยังไม่ถึง 30 ปีบริบูรณ์ เมื่อมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ในปีใด ก็ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกินภายในเดือนพฤศจิกายนของปีนั้น ที่อำเภอหรือเขตที่ตนมีภูมิลำเนาทหารอยู่
2. ทหารกองประจำการ คือผู้ที่ได้รับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร โดยอำเภอหรือหัวหน้าเขตจะเป็นผู้เรียกทหารกองเกินมาตรวจเลือกปีละครั้ง
3. ทหารกองหนุน คือ ชายไทยอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และจะเป็นทหารกองหนุนไปจนถึงอายุ 46 ปีบริบูรณ์
4. ทหารประจำการ ก็คือทหารอาชีพนั่นเอง
กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
การเกิด หมายถึง การที่ทารกคลอดออกจากครรภ์มารดา แล้วมีชีวิตอยู่ การแจ้งเกิดมีหลักเกณฑ์ดังนี้คือ คนที่เกิดในบ้าน เจ้าบ้านต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน คนที่เกิดนอกบ้าน ให้แม่แจ้งต่อนาบทะเบียนในท้องที่ที่เกิดภายใน 15 วัน แต่ในกรณีจำเป็นอาจแจ้งภายหลังได้แต่ต้องไม่เกิน 15 วันหลังจากวันที่สามารแจ้งได้
การตาย หมายถึง การที่คนสิ้นชีวิต การแจ้งตายมีหลักเกณฑ์ดังนี้คือ คนตายในบ้าน เจ้าบ้านแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง การเก็บ ฝัง เผา หรือย้ายศพ เมื่อมีการตายเกิดขึ้น ห้ามไม่ให้ผู้ใดทำการเก็บ ฝัง เผา หรือย้ายศพ ไปจากสถานที่ตายก่อนได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนผู้รับแจ้ง
กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว
การสมรส ชายหญิงที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ทั้งคู่ กฎหมายถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้ว สามารถทำการสมรสได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากใคร แต่ถ้าชายหญิงที่มีอายุเกิน 17 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ยังถือว่าเป็นผู้เยาว์อยู่ จะทำการสมรสได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองของทั้งสองฝ่าย ของหมั้น คือทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้ไว้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับหญิงนั้น สินสอด เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเพื่อการตอบแทนที่ยอมให้ฝ่ายหญิงสมรสกับตน หากไม่มีการสมรสเพราะความผิดทางฝ่ายหญิง ฝ่ายชายสามารถเรียกสินสอดคืนได้ การสมรสจะสมบูรณ์ตามกฎหมายจะต้องมีการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเสียก่อน ผลของการไม่จดทะเบียนสมรส บุตรที่เกิดมาเป็นบุตรนอกกฎหมายของพ่อ แต่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของแม่เสมอ ซึ่งเสียสิทธิหลายอย่าง เช่น ไม่สามารถเรียกร้องค่าเลี้ยงดูจากพ่อได้ ถ้ามีคนอื่นมาทำการละเมิดจนพ่อถึงแก่ความตาย ก็ไปเรียกร้องจากผู้ละเมิดไม่ได้ ไม่มีสิทธิรับมรดกของพ่อ นอกจากบิดามีการรับรองบุตรนั้นตามความเป็นจริง บุตรบุญธรรม บุคคลอื่นที่จะรับเด็กเป็นลูกบุญธรรมได้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี และต้องแก่กว่าผู้ที่ตนจะรับมาเป็นบุตรอย่างน้อย 15 ปี


โดย : นางสาว POTJANEE KETMAI, Praatunam pra-in Post office 13180, วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2545