งอบ

งอบ คือเครื่องสานที่มีโครงสร้างเป็นไม้ไผ่ซึ่งจักเป็นเส้นยาวที่เรียกว่า ตอก และใบลาน ใบตาล หรือกาบหมากมาต่อเป็นรูปทรง งอบมีประโยชน์เช่นเดียวกับหมวกหรือร่ม เป็นเครื่องสานที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของชาวไร่ ชาวนา ในชนบทมาก คนไทยในภาคต่างๆที่มีเครื่องสานที่ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับงอบ แต่เรียกไม่เหมือนกัน เช่น ภาคเหนือ เรียกว่า “กุบ” ภาคใต้ เรียกว่า “กุ้ยเล้ย” งอบประกอบไปด้วยโครงสร้างสำคัญคือ
1. โครงงอบ สานด้วยตอกไม้ไผ่ หลังจากสานโครงเสร็จแล้ว จะกรุด้วยใบลานเพื่อโครงสร้าง
2. กระหม่อมงอบ ทำด้วยใบลานเย็บต่อกันเป็นแผ่นกลม รูปทรงเหมือนฝาชี เย็บปิดรูตรงกลางของงอบ รูนี้เป็นช่องสำหรับเริ่มต้นกรุใบลานปิดโครงไม้ไผ่
3. เส้นประกบของงอบ ทำด้วยไม้ไผ่เหลาเป็นเส้นกลม ทำให้งอบแข็งแรง
4. รังงอบ คือส่วนที่สวมหัว สานด้วยไม้ไผ่เป็นรูปทรงกระบอกและผูกติดกับโครงงอบ
ในปัจจุบัน การสานงอบยังใช้วิธีแบบดั้งเดิมซึ่งบรรพบุรุษเคยทำมา ไม่มีการเปลี่ยนแบบหรือรูปทรง ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะตัว สวยงามอย่างเรียบง่ายและคุณประโยชน์


แหล่งที่มา : วรรณรัตน์ อินทร์อ่ำ. ศิลปะพื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ : แสงศิลป์การพิมพ์, 2535.




โดย : นางสาว siriporn yanjaroon, 4/3 klonglaung prathumtanee 13180, วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2545