เขตการค้าเสรีอาเซียน AFTA


ความเป็นมา
อาเซียนก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 โดยเป็นการรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ประเทศ


ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ต่อมาบรูไนฯ ได้ร่วมเป็นสมาชิกในปี 2527 ปัจจุบันจึงมีประเทศสมาชิก 6 ประเทศ
ต่อมาที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 26 ปี 2537 ได้มีมติให้ร่นระยะเวลาดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียนจาก 15 ปี เหลือ 10 ปี

ในปี 2535 อาเซียนได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA) เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการค้าภายในภูมิภาค ดึงดูดการลงทุนและเสริมสร้างสถานะการต่อรองในเวทีการเจรจาระหว่างประเทศ
ต่อมาที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 26 ปี 2537 ได้มีมติให้ร่นระยะเวลาดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียนจาก 15 ปี เหลือ 10 ปี

เป้าหมาย
ลดภาษีลงให้เหลือร้อยละ 0-5 และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรภายใน 10 ปี (2536-2546)
ขอบเขตสินค้า
ครอบคลุมสินค้าทุกชนิด ยกเว้นสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิต และศิลปะ และอนุโลมให้มีรายการสินค้าเกษตรไม่แปรรูปที่ยังไม่พร้อมที่จะนำมาลดภาษีตามกำหนดระยะเวลาได้
การดำเนินการ
การลดภาษี
แบ่งสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม
สินค้าเร่งลดภาษี (Fast Track) ลดภาษีลงให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 7 ปี มี 15 สาขาสินค้า ได้แก่ ซีเมนต์ ปุ๋ย ผลิตภัณณ์หนัง เยื่อกระดาษ สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ไม้ และหวาย น้ำมันพืช เเคมีภัณฑ์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เซรามิก และผลิตภัณฑ์แก้ว เภสัชภัณฑ์ และแคโทดที่ทำจากทองแดง
สินค้าลดภาษีปกติ (Normal Track) ลดภาษีลงให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 10 ปี
สินค้ายกเว้นชั่วคราว (Temporary Exclusion List) ได้แก่ สินค้าที่แต่ละประเทศสงวนสิทธิ์ไม่ลดภาษีชั่วคราว แต่จะทยอยนำมาลดภาษีภายใน 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 เป็นต้นไป
การลด/เลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี
ยกเลิกมาตรการจำกัดด้านปริมาณเมื่อสินค้านั้นลดภาษีอยู่ที่ระดับร้อยละ 20 หรือต่ำกว่า และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีอื่นภายใน 5 ปีต่อมา
เงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์
1. สินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์ จะต้องเป็นสินค้าที่อยู่ในรายกการลดภาษี และมีแผนการลดภาษีที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA Council)
2. ประเทศนั้นจะต้องลดภาษีของตนในสินค้าชนิดเดียวกันให้เหลือร้อยละ 20 หรือต่ำกว่า จึงจะได้รับสิทธิประโยชน์การลดภาษีสินค้านั้นจากประเทศอื่น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ยังลดภาษีลงมายังไม่ถึงร้อยละ 20 ก็ให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากประเทศอื่นที่ยังลดภาษีลงมาไม่ถึงร้อยละ 20 ในสินค้าเดียวกัน
3. สินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์จะต้องเป็นตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า คือ จะต้องมีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในอาเซียนอย่างน้อยร้อยละ 40
4. ผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จะต้องกรอกแบบใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Form D) ที่ออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจของในการออกใบรับรองของประเทศผู้ส่งออกสินค้านั้น (ของไทยได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์)
ไทยได้อะไรจาก AFTA
การขยายการค้า ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนกำหนดให้ลดอุปสรรคทางการค้า ทั้งทางด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายการค้าภายในอาเซียนเพิ่มขึ้น ทั้งสินค้าสำเเร็จรูป สินค้าชั้นกลาง และวัตถุดิบ โดยมีสินค้าที่คาดว่าประเทศไทยจะมีความได้เปรียบ และสามารถส่งออกไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์หนัง อัญมณีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ปูนซีเมนต์ สิ่งทอบางชนิด อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด
การลงทุน การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ทำให้ตลาดอาเซียนกลายเป็นตลาดใหญ่มีประชากรถึง 340 ล้านคน จะทำให้อาเซียนรวมทั้งไทยกลายเป็นจุดดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งจะนำความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมาสู่ภูมิภาค
การเสริมสร้างสถานะการแข่งขัน การนำเข้าวัตถุดิบในราคาต้นทุนต่ำ การขยายตลาด ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้รับจากการลงทุนจากต่างประเทศ จะทำให้อาเซียนสามารถผลิตสินค้าได้ในราคาต้นทุนต่ำ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างสถานะการแข่งขันการส่งออกของอาเซียนในเวทีการค้าระหว่างประเทศ
การเสริมสร้างอำนาจการต่อรอง การจัดตั้งเขตการค้าอาเซียน เป็นการแสดงเจตนารมย์การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียน ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อความร่วมมือภายในกลุ่มแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างอำนาจต่อรองในเวทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้วย


จากหนังสือ เหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน หน้า 295-298




โดย : นาย ธารา อุทธังกร, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 18 พฤศจิกายน 2544