เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม
1. ลักษณะสำคัญทางประชากร
ประชากรที่อยู่ในภูมิภาคนี้มีหลายเผ่าด้วยกัน คือ
1. ออสตราลอยด์ เป็นพวกที่อยู่ในหมู่เกาะ ตั้งถิ่นฐานในแหลมมลายู หมู่เกาะอินโดนีเซีย นิวกินี จนถึงทวีปออสเตรเลีย มีรูปร่างเตี้ย ผิวคล้ำ ผมหยิกจมูกใหญ่
2. นิโกรลอยด์ อพยพเข้ามาในขณะที่พวกออสตราลอยด์มีความเจริญในภูมิภาคนี้แล้ว พวกนี้มีลักษณะผิวดำ จมูกใหญ่ ริมฝีปากหนา ผมหยิก ในปัจุบันยังมีอยู่ในรัฐเปรัศกลันตันของมาเลเชีย เป็นต้น
3.เมลานีซอยด์ สันนิษฐานว่าเป็นเผ่าผสมระหว่างนิโกรลอยด์ และออสตราลอยด์ ปัจจุบันพวกนี้ไม่มีอยู่ในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีอยู่มากตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก หมู่เกาะนิวกินีและออสเตรเลีย
4. มองโกลอยด์ อพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชียเข้ามาอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นพวกเชื้อสายมองโกลอยด์ เช่น มอญ เขมร ไทย ลาว เป็นต้น
จากลักษณะทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และการอพยพของชนเผ่าต่าง ๆ ทำให้เกิดการผสมผสานของเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ จนปัจจุบันแทบแยกไม่ออกว่าใครมาจากเผ่าพันธุ์ใดที่แท้จริง
นอกจากนี้ยังมีประชากรที่อพยพมาจากเอเชียตะวันออก คือ จีน และจากเอเชียใต้ คือ อินเดีย เข้ามาอยู่ในภูมิภาคนี้ส่วนมากประกอบอาชีพค้าขาย คนเหล่านี้ได้นำขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเข้ามาเผยแผ่ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประชากรจะอยู่กันอย่างหนาแน่นในเมืองใหญ่ ในที่ราบลุ่มแม่น้ำอันอุดมสมบูรณ์และเขตภูเขาไฟ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการค้า เมื้อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดปัญหาทางด้านสังคมและะเศรษฐกิจตามมา
ทางด้านการปกครอง มีการปกครองแบบเทวราชาตามคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ ทำให้กษัตริย์มีอำนาจมาก การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ของกษัตริย์เป็นของศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ยังใช้หลักคัมภีร์ของพระมนูธรรมศาสตร์ เป็นหลักในการปกครองของภูมิภาคนี้
ทางด้านอักษรศาสตร์ ได้แก่ วรรณคดี ภาษาสันสกฤต ภาษาบาลี เป็นต้น ภาษาสันสกฤต ได้เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั่งแต่สมัยโบราณ จนกลายเป็นภาษาราชการไปในอาณาจักรต่าง ๆ ปัจจุบันนี้รากศัพท์ภาษาต่าง ๆ ยังมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต วรรณกรรมอินเดีย ที่มีอิทธิพลต่อภูมิภาคนี้ ได้แก่ มหากาพย์รามายณะ มหากาพย์มหาภารตะ และชาดก เป็นต้น
ศิลปกรรมส่วนใหญ่เน้นเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น การประติมากรรม สถาปัตยกรรม การแกะสลัก การปั้นพระพุทธรูป ภาพวาดบนฝาผนัง การก่อสร้างโบสถ์วิหาร เป็นต้น
อารยธรรมอินเดียเจริญในราชสำนักและในหมู่ชนชั้นสูงมากกว่าสามัญชน โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์ แต่พระพุทธศาสนาเน้นความเสมอภาค เป็นที่ยอมรับทั้งสามัญชนและชนชั้นสูง
2. อารยธรรมจีน จีนเข้ามาติดต่อค้าขายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั่งแต่อดีตและเข้ามามีอิทธิพลทางด้านการเมือง วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ แต่อิทธิพลดังกล่าวมีไม่มากเมื่อเกี่ยวกับอารยธรรมอินเดียทางด้านการเมือง จีนอยู่ในฐานะประเทศมหาอำนาจ อาณาจักรต่าง ๆ ต้องส่งบรรณาการให้จีน ๓ ปีต่อครั้ง เพื่อให้จียคุ้มครองจาการถูกรุกรานของอาณาจักรอื่น
ทางด้านเศรษฐกิจ จีนได้ทำการค้ากับภมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิมค้าที่สำคัญได้แก่ ผ้าไหม เครื่องปันดินเผา เป็นต้น การค้าาของจีนทำให้อาณาจักรที่เป็นเส้นทางผ่านมีความเจริญมั่นคงขึ้น ทางด้านวัฒนธรรม จีนมีอิทธิพลทางด้านนี้น้อยมาก จีนจะเผยแพร่วัฒนธรรมไปยังประเทศของตนเท่านั้น อาณาจักรเวียดนามเคยตกเป็นประเทศราชของจีนเป็นเวลานานจึงรับวัฒนธรรมของจีนไว้มาก เช่น การนับถือลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต่า ประเพณีการแต่งกาย การทำศพ และการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นต้น
3. อารยธรรมอาหรับ ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ศาสนาจากตะวันออกกลางได้แพร่เข้ามาในอินเดียทำให้ชาวอินเดียส่วนหนึ่งหันมานับถือศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะพ่อค้าจากอินเดียตอนใต้ ซึ่งติดต่อค้าขายในบริเวณหมู่เกาะของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อยู่เป็นประจำ ได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแผ่ในภูมิภาคนี้ ผู้นำทางการเมืองของรัฐในหมู่เกาะต่าง ๆ ของเอเซียตะวันออกเชียงใต้เวลานั้น ต้องการต่อต้านอำนาจทางการเมืองของอาณาจักรมัชปาหิต อาณาจักรฮินดูบนเกาะชวา ซึ่งกำลังแผ่อำนาจอยู่จึงหันมานับถือศาสนาอิสลาม เพราะให้ประโยชน์ในการสร้างอำนาจทาง การเมืองกล่าวคือ ผู้นำรัฐนอกจากจะเป็นประมุขทางการเมืองแล้วทางศาสนาอีกด้วย
นอกจากนั้นยังได้ประโยชน์ทางการค้ากับพวกพ่อค้ามุสลิม ตามหลักของศาสนาอิสลามที่ว่าทุกคนที่นับถือศาสนาอิสลามนั้นเป็นพี่น้องกันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จึงทำให้ศาสนาอิสลามเป็นที่นิยมของกษัตริย์ และชนชั้นสูง เพราะศาสนาอิสลามที่แพร่หลายเข้ามานี้ได้ปรับหลักการให้สอดคล้องกับความเชื่อเดิมของชาวพื้นเมือง ในเรื่องความเป็นเทวราชาของกษัตริย์ตามคติของศาสนาพราหมณ์ ไม่ปฏิเสธสิ่งที่คนนับถืออยู่แต่เดิม เช่น การบูชาธรรมชาติ การนับถือภูตผี พิธีกรรมต่าง ๆ ในลัทธิฮินดู เป็นต้น ทำให้ศาสนาอิสลาม เป็นที่ยอมรับของคนระดับสามัญชนด้วย โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่ ๆ ที่เป็น
ศูนย์กลางการค้า เมืองท่าริมฝั่งทะเลบริเวณช่องแคบมะละกา แล้วเผยแผ่ไปตลอดตอนใต้ของแหลมมลายู และจากทางตะวันออกของเกาะสุมาตราจนจดตะวันตก และยังเผยแผ่ลงไปทางใต้ตามเส้นทางการค้า ทำให้ประชากรในภูมิภาคนี้นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ โดยเจ้าผู้ครองแคว้น เข่น ปาหัง ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ตลอดจนปัตตานี ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามทั้ง ๆ ที่ความเชื่อดั้งเดิมยังมีอยู่ดังจะเห็นไดว่ายังมีการใช้พิธีการของินดูในราชสำนักต่าง ๆ แม้แต่มัสยิดก็ยังมีรูปแบบคล้ายสถาปัตยกรรมฮินดูอยู่
4. อารยธรรมตะวันตก ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาในภูมิภาคนี้เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 21 มี่จุดประสงที่จะทำการค้าและเผยแผ่ศาสนา สินค้าที่ชาวยุโรปต้อง การได้แก่พริกไทย และเครื่องเทศต่าง ๆ ในระยะแรกๆ นั้นความสนใจของชาวยุโรปจะจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณหมู่เกาะและบริเวณชายฝั่ง แต่ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 23 และ 24 ความสนใจของชาวยุโรปได้ขยายไปถึงดินแดนใสเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกือบทั้งหมด เดิมอาณาจักรต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความแตกต่างกันทางด้านเชื้อชาติและภาษา หลังจากที่ได้รับอารยธรรมอินเดีย จีน และอาหรับแล้ว อารยธรรมใหม่ที่เกิดจากการผสมผสานกัน ทำให้ประชากรในภูมิภาคนี้มีสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่คล้ายคลึงกันพอสมควร และยึดมั่นเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติตะวันตกจะเข้ามาในภูมิภาคนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ภายในภูมิภาคก็ยังมีการแข่งขันกันทางด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจจนขาดความสามัคคี ไม่สามารถที่จะต่อต้านการขยายตัวของชาติตะวันตกได้ และในที่สุดก็ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ซึ่งเผยแผ่อารยธรรมของตนในภูมิภาคนี้ ได้แก่ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และการดำรงชีวิต เป็นต้น





โดย : นาง ศิริวัฒน์ สาดศรี, นารีนุกูล, วันที่ 16 มกราคม 2545