เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3. ฮอลันดา

ฮอลันดาเป็นนชาติที่มีความสามารถมากในการต่อเรือและการเดินเรือ ฮอลันดาซึ่งเดิมอยู่ใต้อำนาจของสเปน สามารถปลดแอกจากสเปนได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๑ จึงได้ทำการค้ากับประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเหนือ โดยผ่านเมืองลิสบอน เมืองหลวงของโปรตุเกส จนกระทั่งเมื่อสเปนและโปรตุเกสประกาศว่าไม่ยอมให้ฮอลันดาทำการค้าขายด้วย ทำให้ฮอลันดาต้องเปลี่ยนทิศทางมายังหมู่เกาะเครื่องเทศ โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำการค้าเครื่องเทศกับภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ไม่คิดที่จะทำการเผยแผ่คริสต์คาสนาเช่นเดียวกับสเปนและโปรตุเกส ฮอลันดาสนใจทางการค้ามากกว่าการเข้าปกครองดินแดนนั้น ๆ ฮอลันดามีบริษัทการค้ามากมายและ ใน พ.ศ. ๒๑๔๕ บริษัทการค้าของฮอลันดาประมาณ ๕๐ บริษัท ได้รวมตัวกันจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา นับเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอาณานิคมสมัยใหม่ที่อาศัยการค้าเป็นสำคัญ บริษัทเหล่านี้เป็นกึ่งราชการ มีอำนาจทางการค้า การเมือง การปกครอง การตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนการทำสงครามและการทำสนธิสัญญา มีการสร้างป้อมปราการและมีกองทหารประจำบริษัท บริษัทของออลันดาได้เปรียบกว่าบริษัทของชาติคู่แข่งในเวลานั้น พ.ศ. ๒๑๖๒ ฮอลันดาได้ครอบครองเมืองปัตตาเวีย (เมืองจาร์กาตาในปัจจุบัน) ในเกาะชวา และใน พ.ศ. ๒๑๘๔ ได้เข้ายึดมะละกาของโปรตุเกส ต่อมาได้ขยายสถานีการค้าไปในเกาะชวา สุมาตรา หมู่เกาะโมลุกกะ เกาะบอร์เนียว เซลีเบส ตลอดจนแหลมมลายู

การที่มีอำนาจผูกขาดในหมู่เกาะอินดีสตะวันออก ในขณะที่ชาวพื้นเมืองรบพุ่งกันอยู่ได้เปิดโอกาสให้ฮอลันดาเข้าแทรกแซงกิจการภายในและขยายอิทธิพลของตนได้สะดวกขึ้น ต่อมาบริษัทเสื่อมลงเนื่องจากเกินการฉ้อโกงในบริษัท เจ้าหน้าที่ของบริษัททำการค้าขายส่วนตัวทำให้บริษัทขาดทุนและมีหนี้สินมาก รัฐบาลจึงยุบบริษัทและเข้าปกครองหมู่เกาะอินดีสตะวันออกโดยตรง




โดย : นาง ศิริวัฒน์ สาดศรี, นารีนุกูล, วันที่ 16 มกราคม 2545