จรวดนำส่งยานอวกาศ


จรวดสำรวจอวกาศ ไต่ระดับขึ้นสู่ความสูง เหนือบรรยากาศของโลก แต่จรวดส่งยาน
อวกาศได้ออกแบบไว้ให้นำดาวเทียมขึ้นไปอยู่ในวงโคจรสูงจากผิวโลกระดับหนึ่งหรือ
ขับดันพายานอวกาศให้มีความเร็วหลุดพ้นจากแรงดึงดุดของโลกประมาณปี ค.ศ. 1950 เทคโนโลยีของการขับเคลื่อนด้วยจรวด ก้าวหน้าไปจนถึงระดับที่สามารถส่งดาวเทียม ขึ้นไปโคจรรอบโลกสำเร็จ ถึงแม้ว่าการเดินทางในอวกาศ จากโลกไปยังดวงจันทร์ หรือดาวเคราะห์ดวงใดดวงหนึ่งจะเป็นเรื่องที่มนุษย์ได้ไฝ่ฝันมานานหลายศตวรรษแล้ว ก็ตาม แต่ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 มีมนุษย์มีความสารถสร้าวจรวดเพื่อส่งยานอวกาศ ออกไปจากโลกได้สำเร็จการศึกษาทางวิทยาศาตร์ทั่วโลกในระหว่างปีธรณี ฟิสิคส์นานาชาติ (IGY) ปี ค.ศ 1957-58 เป็นรากฐานสำคัญของการจัดสร้างจรวดขับดันยานขึ้นสู่อวกาศ ในปี ค.ศ 1955


ทั้งสหรัฐและสหภาพโซเวียต ประกาศการจัดโครงการส่งดาวเทียมให้เป็นส่วนหนึ่งของปีธรณีฟิสิคส์สากล
ในช่วงแรกๆสหรัฐใช้จรวดจูปิเตอร์-ซี(JUPITER-E)และจรวดแวนการ์ด(VANGARD)ส่งดาวเทียม
ขนาดเล็กๆขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกจูปิเตอร์-ซีดัดแปลงมาจากขีปนาวุธเรดสโตนซึ่งมีพิสัยการยิงในระยะ ปานกลาง และใช้เชื้อเพลิงเหลวเป็นพลังงานขับดัน การดัดแปลงต้องการให้จรวดมีความเร็ว 20,000ฟุตต่อวินาทีซึ่งประกอบความสำเร็จโดยการติดตั้งจรวดชั้นบนอีก2ชั้นชั้นหนึ่งมีจรวด ใช้เชื้อเพลิงแข็ง4ตัวอีกชั้นหนึ่งใช้จรวดตัวเดียวจรวดแต่ละตัวให้แรงขับดัน1,000 ปอนด์ต่อวินาที ในช่วงเวลา6.5วินาทีเนื่องจากจรวดใช้เพลิงแข็งไม่มีระบบนำทิศทางจรวดชั้นบนจะเดินทางหักเหไป เพราะการเปลียนแปลงในแต่ละแรงผลักดันของแต่ละเครื่องยนต์จรวดในขณะเชื้อเพลิงเผาไหม้ การคลาดเคลือดเช่นนี้ถูกแก้ไขออกไปโดยการใช้แรงเหวี่ยง คลัสเตอร์ ก่อนยิงจรวดขึ้นโดยการเพิ่มความเร็วขั้นสุดท้าย 5,000 ฟุตต่อวินาที ให้เป็น 25,00 ฟุตต่อวินาที ก็สามารถส่งดาวเทียม ขนาดเล็กความเร็วที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดขึ้นได้โดยวิธืเพิ่มจรวดขึ้นมาอีกตอนหนึ่งพร้อมกับใช้จรวด ใช้เชื้อเพลิงแข็ง ดังนั้นตอนบน จึงประกอบไปด้วย จรวดสองตอน และในที่สุดหนึ่งตัว พาดาวเทียม มีน้ำหนัก 18.1 ปอนด์ขึ้นไปในอวกาศ
ประเทศ แรกที่ส่งดาวเทียมขึ้นคือ สหภาพโซเวียต
ประเทศที่ สองคือ สหรัฐ
ประเทศที่ สามคือ ฝรังเศส
ประเทศที่ สี่คือ ญี่ปุ่น
ประเทศที่ ห้าคือ จีน
ประเทศที่ หกคือ อังกฤษ
www.rb.ac.th/student/spaceandhuman/t12.html


โดย : นาย rangsun sodsaithong, 4/3 Klonglaung Prathumtanee 13180, วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2545