ท่ายืนด้วยศีรษะ

ศีรษะอาสนะ - ท่ายืนด้วยศีรษะ
Sirsha-asana
The Head Stand

ความหมาย
คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการ ฝึกอาสนะไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ ด้านซ้ายมือคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ
นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า
เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน
วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้
ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น
คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ
คำแนะนำ
ท่าศีรษะอาสนะเป็นท่าโยคะที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด ท่านี้มีประโยชน์มากทั้งทางร่างกายและจิตใจ เนื่องมาจากการสร้างสมดุล และการวางตำแหน่งร่างกายให้สลับกับตำแหน่งปกติ

ก่อนที่ผู้เริ่มฝึกโยคะจะฝึกท่าศีรษะอาสนะ ควรแน่ใจก่อนว่าได้ฝึกท่าพื้นฐานอื่นๆ มาจนชำนาญแล้ว (เช่น ชวังคอาสนะ, ธนูอาสนะ, อัครอาสนะ ฯลฯ) ถ้าคุณเพิ่งเริ่มฝึกท่าศีรษะอาสนะเป็นครั้งแรกตามลำพัง ควรฝึกใกล้ๆ ผนัง ให้หัวเข่าอยู่ห่างจากผนังประมาณ 3 ฟุต เมื่อไม่สามารถทรงตัวได้จะได้ใช้ผนังเป็นเครื่องพยุงตัวได้

ท่านี้มีผลดีต่อคอ กระดูกสันหลัง และสมอง การฝึกสม่ำเสมอจะช่วยสร้างความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลัง และการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง ช่วยสร้างสมดุลของร่างกายให้ทรงตัวได้ดี ลดความเครียด และลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อร่างกายส่วนล่าง นอกจากนี้ยังมีผลต่อจิตใจ ช่วยเสริมสร้างประสาทรับรู้และความจำ

ระยะเวลา / การทำซ้ำ
ในช่วงแรก ๆ ให้คงท่านี้ไว้ 15-30 วินาที แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ข้อควรระวัง
หากเพิ่งหัดโยคะใหม่ๆ คุณควรหาครูฝึกไว้คอยแนะนำท่านี้โดยเฉพาะ หากต้องทำท่านี้คนเดียว ให้ฝึกใกล้ผนังดังกล่าวข้างต้น

อย่างไรก็ตาม หากคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตต่ำ คุณไม่ควรฝึกท่านี้เด็ดขาด นอกจากนี้ท่านี้ยังไม่เหมาะสำหรับสตรีขณะมีประจำเดือน





โดย : นางสาว Chomkwan Suppasuk, ripw Klongluang patumtani 13180, วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2545