ท่าวงล้อ

ท่าจักรอาสนะ (ท่าวงล้อ)
Chakra-asana
The Wheel Posture

ความหมาย
ความหมาย จักร หมายถึง ล้อ จึงเรียกท่านนี้ว่า ท่าวงล้อ

วิธีปฏิบัติ
นอนหงายในท่าศพอาสนะ
ขณะหายใจออกให้งอเข่า ดึงเท้าเข้ามาใกล้สะโพกให้ได้มากที่สุด ให้ส้นเท้าราบไปกับพื้น
งอศอกและวางฝ่ามือราบไปบนพื้น ใต้หัวไหล่แต่ละข้าง ให้นิ้วมือชี้ไปทางหลัง
ขณะหายใจเข้าช้าๆ ให้เริ่มยกศีรษะ หลัง และสะโพก ขึ้นจากพื้น โดยโค้งกระดูกสันหลังขึ้น กดมือและเท้าลง ขณะที่ยกสะโพก และท้องให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้
คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงที่กลั้นหายใจเข้า ถ้าคุณไม่สามารถกลั้นหายใจเข้าได้อีกต่อไปให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น ให้ขาเหยียดตรงแล้วกลับไปสู่ท่าในข้อ 1

คำแนะนำ
ท่าจักรอาสนะ ท้าทาย กว่า ท่าโยคะอื่นๆ ดังนั้นจึงไม่ควรท้อ หากไม่สามารถทำท่านี้ได้ทันที การพยายามทำท่านี้ แม้จะไม่ประสบความสำเร็จ ก็ทำให้ได้รับประโยชน์มากมายอย่างแรกที่สำคัญที่สุดคือ ความแข็งแรง และความยืดหยุ่น ของกระดูกสันหลัง ท่านี้ทำให้ แขน ไหล่ และ หลัง ช่วงบน แข็งแรง แล้วยังช่วยกระตุ้นระบบหัวใจ ท่านี้มีผลช่วยบริหารทั้งร่างกาย

เมื่อฝึกท่านี้ไปได้ระยะหนึ่ง ความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังตามธรรมชาติก็จะเกิดขึ้น ทำให้คุณสามารถฝึกท่านี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบต่อไป แล้วจะให้ผลดีมากขึ้น

อย่างแรกต้องแน่ใจว่า แขนทั้งสองตรง ไม่ควรงอศอก เมื่อสามารถคงท่านี้ได้สบายๆ ให้เริ่มหายใจ ขณะคงท่านี้ไว้และพยายามงอกระดูกสันหลังให้ได้มากขึ้น โดยให้มือเข้ามาใกล้เท้ามากขึ้น และ/หรือ ให้เท่าเข้ามาใกล้มือ ท้ายที่สุดคุณสามารถเพิ่มระยะเวลาการทำซ้ำหลายๆครั้งติดต่อกัน โดยไม่หยุดพัก เมื่อคุณออกจากท่านี้ ให้วางมือไว้ข้างหลังไหล่ และให้ส้นเท้าราบไปกับพื้น ทันทีที่หลังสัมผัสพื้น ให้ยกหลังขึ้นทันที แล้วทำท่านี้อีกครั้งหนึ่ง

ระยะเวลา / การทำซ้ำ
ให้คงท่านี้ไว้เท่ากับช่วงการหายใจเข้าหรือระหว่าง 1 และ 3 นาที ขณะค่อยๆหายใจ ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง

ท่าจักรอาสะแบบสะพาน

นอนหงายเหมือนท่าศพอาสนะ
หายใจเข้า แล้ว ขณะหายใจออกให้งอเข่า ให้เท้าเข้ามาใกล้สะโพกมากที่สุด ใช้มือซ้ายจับหน้าแข้งซ้าย มือขวาจับหน้าแข้งขวา
ให้ศีรษะวางราบกับพื้น ขณะหายใจเข้า โค้งหลังขึ้น ยกท้องและสะโพกขึ้น ร่างกายของคุณ ควรพักอยู่บนศีรษะ ไหล่ และเท้า ให้กดไหล่ไว้ที่หน้าอก
คงท่านี้ไว้เท่ากับช่วงหายใจเข้าที่กลั้นเอาไว้ ถ้าคุณไม่สามารถกลั้นหายใจได้อีกต่อไป ให้ค่อยๆหายใจออก และนอนหงายไปกับพื้น ปล่อยมือออกจากหน้าแข้งแล้วกลับมาสู่ท่า ศพอาสนะ

คำแนะนำ
แม้ว่าท่าแบบสะพานนี้ จะง่ายกว่าท่าจักรอาสนะ แต่ก็มีผลดีคล้ายๆ กับหลายอย่างที่สำคัญ คือช่วยยืดกระดูกสันหลังและบรรเทา อาการตรึงในบริเวณหลังส่วนล่างและไหล่

เพื่อให้ได้ประโยชน์จากท่าสะพานนี้มากที่สุด ควรพยายามยกหลังขึ้น เพื่อทำให้กระดูกสันหลังโค้งได้มากที่สุด

เมื่อสามารถคงท่าสะพานได้สบายๆ เท่ากับระยะเวลาการหายใจเข้า คุณสามารถเริ่มหายใจช้าๆ ขณะโค้งท่านี้ไว้ได้ หากไม่รู้สึกเจ็บกระดูกสันหลังหรือไหล่ ให้ทำท่าจักรอาสนะ ให้สมบูรณ์ดังอธิบายไว้ข้างต้น ทั้งสองแบบ ล้วนแต่ทำให้หลังแข็งแรง และสร้างความยืดหยุ่นให้กระดูกสันหลัง อาการตึงที่หลังและกระดูกสันหลังล้วนมีผลมาจาก การทรงตัวที่ผิดท่า ความเครียด และ /หรือ ความไม่สบายใจ คุณจะรู้สึกได้ว่า อาการตรึงลดลง หลังจากทำท่านี้ได้ 2-3 ครั้ง





โดย : นางสาว Chomkwan Suppasuk, ripw Klongluang patumtani 13180, วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2545