สารอาหารข้าวกล้อง


1. คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่แป้ง ซึ่งจะเป็นน้ำตาลเดี่ยว ที่จะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดต้องใช้เวลาพอสมควร
2. สารเส้นใย (Fiber) ปัจจุบันพบว่า บทบาทของสารเส้นใยมีมากกว่ากี่ช่วยระบายสามารถป้องกันโรคไขมันในเลือดสูงเบาหวานรวมทั้งป้องกันมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งของสำไส้ใหญ่ สำหรับผักผลไม้โดยเฉลี่ย ประมาณ 2 กรัมต่อ 100 กรัมหากรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยผักและผลไม้วันละ 5 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนจะเท่ากับประมาณ 100 กรัม ก็จะได้สารเส้นใยจากผักผลไม้ ประมาณ 10 กรัม ส่วนข้าวกล้อง 100 กรัม หรือ 1 ทัพพี มีสารเส้นใย 2.1 กรัม หากกินข้าวกล้องวันละ 5 ทัพพี ก็จะได้สารเส้นใยอีก 10 กรัม รวมแล้วเป็น 20 กรัมตามที่ต้องการ
บทบาทของเส้นใยในการป้องกันโรค
- ป้องกันโรคท้องผูก
- ป้องกันและควบคุมไขมันในเส้นเลือดสูง
- ป้องกันมะเร็ง
3. วิตามิน บี ในข้าวกล้องที่มีเยื้อหุ้มข้าวอยู่ครบเยื้อนี้จะหุ้มเอาวิตามินบีไว้หลายตัว เช่น บี1 บี2 ไนอาซีน (วิตามิน บี3) กรดแพนโทรินิค (วิตามิน บี5) ทำให้ข้าวกล้องมีสีออกน้ำตาลนวล ซึ่งเป็นสีของวิตามินบี ผิดกับข้าวขาวที่ถูกขัดเอาวิตามินบีออกไปหมดจนข้าวเป็นสีข้าวแล้ววิตามินบีที่มีประโยชน์จะถูกขัดออกไปเป็นรำข้าวจนหมด วิตามินบีเหล่านี้มีหน้าที่สำคัญ
- ช่วยในการทำงานของระบบประสาท สมอง ทำให้ความจำดี อารมณ์ดี
- ช่วยในการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ รวมทั้งส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ
- ช่วยรักษาโรคเหน็บชา
- ช่วยทำให้เนื้อเยื่ออ่อนในร่างกายแข็งแรงขึ้น เช่น เยื่อตา เยื่อบุในปากผู้สูงอายุ
- ช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ในร่างกายของเราเมื่อต้องการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้ เป็นพลังงาน
4. วิตามิน อี ข้าวกล้องเป็นข้าวที่ถูกกะเทาะเปลือกออกเท่านั้น เยื่อหุ้มข้าวจมูกข้าวยังอยู่ครบ จมูกข้าวนี้เป็น ที่อยู่ของวิตามิน อี วิตามิน อี เป็นสารกระตุ้นอนุมูลอิสระตัวสำคัญหนึ่งในสามตัว คือ เบต้าแคโรทีน วิตามิน ซี และ อี ดังนั้น การรับประทานข้าวกล้องจึงเท่ากับได้สารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติเข้าไปใช้
5. เซเลเนียม นอกจากสารต้านอนุมูลอิสระสำคัญ ซึ่งได้แก่ เบต้าแคโรทีน ไวตามิน ซี และ อี แล้ว ร่างกายยังต้องการโคเอนโซม์ ในการทำงานด้านอนุมูลอิสระซึ่งได้แก่เซเลเนียมอีกด้วย ที่จริงธาตุเซเลเนียมมีมากในข้าวขาวการได้เซเลเนียเข้าไปเป็นประจำ เป็นการเสริมปฏิกิริยาต้านอนุมูลอิสระให้ร่างกายได้มากขึ้น

ใจทิพย์ ไพบูลย์. สารอาหารในข้าวกล้อง. สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด. 37 (มิถุนายน 2542) : 34-36.
http://www.thaifolk.com



โดย : นาง กุหลาบ กล่อมศรี, klongkuang, วันที่ 1 มีนาคม 2545