นานา...นม...


นมเป็นอาหารสำหรับทารกและเป็นอาหารเสริมสำหรับคนทุกเพศทุกวัยแต่ก่อนคนไทยไม่ค่อยนิยมดื่มนมเพราะนมไม่ได้อยู่ในวัฒนธรรมการกินของคนไทยราว15ปีก่อนทางการวางแผนรณรงค์ให้คนไทยหันมาดื่มนมเพื่อสุขภาพผู้บริโภคจำนวนมากที่อาจยังไม่ทราบว่านมที่มีขายตามท้องตลาดแตกต่างกันอย่างไร นมมีหลายประเภทดังนี้
1. นมสด คือนมที่รีดจากแม่วัวโดยตรงซึ่งหาดื่มได้ยากส่วนใหญ่มักเป็นนมสดที่นำมาผ่านกรรมวิธีให้ความร้อนแบบต่าง ๆ เรียกว่า " นมพร้อมดื่ม "
-นมพาสเจอร์ไรซ์ มีคุณค่าทางอาหารดีที่สุดแต่ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นแก้บได้นานเพียงสามวันเพราะเชื้อจุลินทรีย์สามารถทำลายได้เพียงบางส่วนเท่านั้น
-นมสเตอริไลซ์ เก็บได้นาน6เดือนโดยไม่ต้องแช่เย็นเชื้อจุลินทรีย์ถูกทำลายหมดโดยที่ไม่ทำให้คุณภาพของนำนมเปลี่ยนแปลงมากนัก
-นมยูเอชที สามารถเก็บไว้ได้ ณ อุณหภูมิห้องได้นานกว่า 6 เดือนโดยไม่เน่าเสีย
2. นมผงธรรมดา คือนมที่ผ่านกรรมวิธีระเหยนำออกเกือบหมดเหลือน้ำอยู่เพียงม่เกินร้อยละ 3-4 การระเหยน้ำออกยิ่งมากยิ่งเก็บไว้ได้นาน นมประเภทนี้จะสูญเสียวิตามินบี1และวิตามินซีไป


3. นมผงขาดมันเนย หรือ นมพร่องมันเนยเป้นนมผงที่สกัดไขมันออกบางส่วนราคาถูกกว่านมผงธรรมดามีไขมันและวิตามินน้อยกว่านมผงธรรมดา แต่มีโปรตีน แคลเซียม และสารอาหารอื่นเท่ากัน ไม่เหมาะสำหรับเด็ก
4. นมผงดัดแปลงสำหรับทารก หรือนมที่มีลักษณะคล้ายนมมารดามีการเติมวิตามินดี เหล็ก วิตามินซีที่มีน้อยในนมมารดาลงไป
5. นมข้นจืด หรือนมสดระเหย คือนมที่ระเหยน้ำออกร้อยละ 60 น้ำนมมีความข้นเป็นสองเท่าของนมสดการใช้นมข้นจืดต้องเติมน้ำเกือบเท่าตัวจะได้นมที่มีคุณค่าทางโภชนาการเท่านมสดหรือคล้ายคลึง
6. นมข้นหวาน มีการเติมน้ำตาลลงไปร้อยละ 40 นิยมใช้ผสมและทำอาหารเป็นนมที่ห้ามใช้เลี้ยงทารก
7. นมคืนรูป คือนมที่ได้จากการนำส่วนประกอบของนมสดที่แยกออกแล้วผสมขึ้นใหม่มีคุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกับนมผง
8. นมแปลงไขมัน คือนมที่ได้จากนมวัว นมผง น้ำนมข้น หรือนมคืนรูปใช้ไขมันอื่นแทนมันเนยนิยมใช้ชงกับชา กาแฟ ส่วนใหญ่ใช้น้ำมันปาล์มในการผลิตนมชนิดนี้
9. นมปรุงแต่ง คือนมสด นมคืนรูป หรือนมผง ที่ปรุงแต่งด้วยสี กลิ่น รส นมชนิดนี้เหมาะสำหรับด็กและคนทั่วไป แต่ไม่เหมาะสำหรับทารก
10. นมเปรี้ยว คือ นมหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนมหมักด้วยจุลินทรีย์ที่ไม่ทำให้เกิดโรคเหมาะสำหรับผู้ที่ท้องผูกหรือท้องอืด


โดย : นางสาว สุจรรยา เขียวพุฒ, ร.ร. ศรีสำโรงชนูปถัมภ์, วันที่ 18 พฤศจิกายน 2544