เชื้อฮิบ

เชื้อฮิบ (HIB)
เป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเต็มว่าฮีโมฟีลุสอินฟลู เอนซา ชนิดบี (Haemophilus influenza type b) เป็นเชื้อที่อยู่ตามลำคอทำให้ติดต่อกันได้ง่ายจากการใกล้ชิดสัมผัส เช่น ไอจามรดกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันมาก ๆ เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก ชุมชนแออัดในเด็กเล็กตั้งแต่ 2 เดือนถึงประมาณ 5 ปี มีโอกาสติดเชื้อนี้ได้ง่าย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ และหลังจากเชื้อฮิบเข้าสู่ร่างกายแล้ว เชื้อจะแพร่กระจายไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดโรคได้หลายชนิด เช่น ปอดบวม ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ ผิวหนังอักเสบ ข้ออักเสบแต่ที่สำคัญ และร้ายแรงที่สุด คือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จากเชื้อฮิบ
เด็กหลังจากรับเชื้อ เชื้อฮิบในลำคอจะแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด และเยื่อหุ้มสมองตามลำดับ เด็กจะมีอาการภายใน 3-4 ชั่วโมง ถึง 1-2 วัน โดยทั่วไปเด็กจะมีอาการไข้ งอแง หงุดหงิด เบื่ออาหาร (ไม่ดูดนม) ต่อมา จะมีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ปวดศีรษะ ชักคอแข็ง (ก้มคอไม่ลง) กระหม่อมโป่ง
ในเด็กเล็กอาการมักไม่ชัดเจนและการวินิจฉัยโรคทำได้ยาก ต้องเจาะเอาน้ำไขสันหลังไปตรวจทำให้ในบางกรณีเชื้อฮิบอาจทำลายอวัยวะต่าง ๆ ไป ก่อนที่ยาจะออกฤทธิ์ จึงต้องรีบให้การรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว ในรายที่รอดชีวิตบางราย อาจมีอาการแทรกซ้อนทางสมองตามมาเช่น ชักเรื้อรัง หูหนวก ตาบอด อัมพาต และปัญญาอ่อน



ที่มา : สำนักงานประกันสังคมและสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.











โดย : นางสาว patcharin kanakgorn, klong laung pathumtanee 13180, วันที่ 18 เมษายน 2545